สิ่งอำนวยความสะดวก

        ห้องปฏิบัติการ เครื่องมือ เทคโนโลยีและอุปกรณ์อื่นๆ สถาบันโภชนาการ มีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีเครื่องมือที่พร้อมและทันสมัยจำนวน 16 ห้อง ทำให้สามารถดำเนินการวิจัยด้านโภชนาการ วิเคราะห์สารอาหารในตัวอย่างทดสอบทางชีวภาพ คุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ตลอดจนการศืกษาประสิทธิผลของสารอาหารและสารออกฤทธิ์ต่างๆ ตั้งแต่ในระดับหลอดทดลอง เซลล์/เนื้อเยื่อ สัตว์ทดลองและมนุษย์นอกจากอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ทางกายภาพ เคมี ชีวเคมีและจุลชีววิทยาของอาหารและตัวอย่างชีวภาพแล้ว ห้องปฏิบัติการของสถาบันโภชนาการยังมีเครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ทันสมัย อาทิเช่น
    • Fluorescence microscopes 
    • Fluorescence Detector (FLD) 
    • COBAS B 101 เครื่องตรวจวัดระดับ ฮีโมโกลบิน A1C และ LIPID PROFILE 
    • C-DiGit Blot Scanner เครื่องถ่ายภาพ และวัดระดับโปรตีนจาก western blot 
    • Isotope Ratio Mass Spectrometry (IRMS) ใช้สำหรับการวิเคราะห์ไอโซโทปเสถียร (Stable isotope) เช่น deuterium (2H), carbon-13 (13C), nitrogen-15 (15N), oxygen-18 (18O) เป็นต้น เทียบกับไอโซโทปที่มีในธรรมชาติ ซึ่งการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคนี้จัดเป็นวิธีปฐมภูมิ (primary method) ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลสำหรับงานทางด้านองค์ประกอบของร่างกาย (Body composition) และการเผาผลาญพลังงานของร่างกายทั้งขณะพักและออกกำลังกาย (Energy expenditure) ในมนุษย์
    • Body Composition Measurement (Bod-PodTM) ใช้สำหรับการวิเคราะห์ส่วนประกอบของน้ำ และไขมันในร่างกาย (body composition) High Performance Liquid Chromatography (HPLC) ใช้สำหรับการวิเคราะห์สารอาหารและสารออกฤทธิ์หลายชนิดเช่นแคโรทีนอยด์ (carotenoids), ฟลาโวนอยด์ (flavonoids), โคเอนไซม์คิวเทน (coenzyme Q10), วิตามินที่ละลายในน้ำ (วิตามินซี บี1 และ บี2), วิตามินที่ละลายในไขมัน (วิตามินเอ และอี), กรดเบนโซอิก (benzoic acid) และกรดซอร์บิก (sorbic acid) เป็นต้น
    • Gas Chromatography (GC) ใช้สำหรับการวิเคราะห์สารอาหารและสารออกฤทธิ์หลายชนิด เช่น ฟรุกแตน (fructans), อินนูลิน (inulin), โอลิโกแซคคาไรด์ (oligosaccharide), ไฟโตสเตอรอล (phytosterol), โคเลสเตอรอล (cholesterol), กรดไขมันชนิดต่างๆ (fatty acids) เป็นต้น
    • Inductively Coupled Plasma Optical Emission Spectrometry (ICP-OES) ใช้สำหรับการวิเคราะห์แร่ธาตุหลายชนิดได้ในครั้งเดียว (simultaneous) เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดง สังกะสี เป็นต้น
    • Atomic Absorption Spectrometry (AAS): flame and non-flame ใช้สำหรับการวิเคราะห์แร่ธาตุและโลหะหนัก เป็นรายธาตุ เช่น โซเดียม โพแทสเซียม ตะกั่ว แคดเมี่ยม เป็นต้น
    • Spectrofluorometry ใช้ในการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant activity)
    • Clean room เพื่อการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์ไอโซโทปเสถียร ในการศึกษาการดูดซึมของแร่ธาตุในมนุษย์Cell culture facility เป็นห้องที่ใช้สำหรับการศึกษาวิจัยในระดับเซลล์ เช่น Laminar flow, Carbon dioxide incubator, Inverted Microscope ตลอดจนเครื่องมือต่างๆ เช่น Microplate reader, Thermal Cycler, Electrophoresis unit for protein, RNA and DNA analysis เพื่อใช้ในการศึกษาผลกระทบของสารในอาหารต่อหน้าที่ต่างๆ โดยศึกษากลไกที่เกิดภายในเซลล์ในระดับชีวโมเลกุล (molecular mechanism)

     จากการที่สถาบันโภชนาการเน้นการนำวิจัยสู่การใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง สถาบันจึงได้พัฒนาศักยภาพด้านอื่นที่จำเป็นต่อการขยายผลงานวิจัยจากห้องปฏิบัติการสู่ชุมชนและสังคม โดยมีส่วนปฏิบัติการวิจัยและบริการวิชาการที่อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบัน ดังนี้

        • สถานีวิจัยภาคสนาม จังหวัดอุบลราชธานี
        • โรงงานทดลองผลิตอาหาร
        • โรงงานต้นแบบเพื่อการวิจัย ฝึกอบรม และผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด
        • หอวิจัยทางคลินิก

สถานีวิจัยภาคสนาม

     สถานีวิจัยภาคสนาม เลขที่ 8-12 ถ. แจ้งสนิท ต. แจระแม อ. เมือง จ. อุบลราชธานี โทรศัพท์ 045-311190 ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516 เป็นอาคาร 2 ชั้น และบ้านพัก 1 หลัง (9 ห้อง) ซึ่งประกอบด้วย ห้องประชุม ห้องอาหาร ห้องทำงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ ห้องปฏิบัติการขนาดเล็กและห้องพัก (แอร์และน้ำอุ่น) ในบรรยากาศสวนที่ร่มรื่น สถานีวิจัยภาคสนามนี้ ตั้งขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายที่จะอำนวยความสะดวก ให้แก่บุคลากรของสถาบัน ในการทำงานวิจัยภาคสนาม รวมทั้งใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมบุคลากร ในโครงการศึกษาวิจัยภายในประเทศ และโครงการนานาชาติ นอกจากนี้ยังให้บริการเช่าห้องพักและห้องประชุมด้วย

      •  

โรงงานทดลองผลิตอาหาร

 โรงงานทดลองผลิตอาหารก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2534 ตั้งอยู่ในบริเวณสถาบันโภชนาการ ศาลายา เป็นสถานที่สำหรับการฝึกปฏิบัติงาน และการวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ต้องการการขยายผลจากระดับห้องทดลอง ก่อนถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม โรงงานต้นแบบ มีพื้นที่สำหรับกระบวนการผลิต ห้องปฏิบัติการ ห้องทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส ห้องครัว ห้องเย็น ห้องทำงาน และมีพื้นที่บริการจำหน่ายอาหาร และผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ

หอวิจัยทางคลินิก

     หอวิจัยคลินิก เป็นห้องปฏิบัติการของสถาบันโภชนาการที่ดำเนินงานวิจัยด้านคลินิกที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากลด้านจริยธรรมและด้านวิชาการ งานวิจัยมุ่งเน้นเรื่องการดูดซึมการเผาผลาญ และการนำไปใช้ของสารอาหารหรือสารสำคัญต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหาร รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ เพื่อให้ประชากรไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้หอวิจัยคลินิกยังให้บริการตรวจวัดภาวะโภชนาการ การวัดสัดส่วนของร่างกาย การเผาผลาญพลังงานของร่างกายทั้งขณะพักและออกกำลังกาย และการให้คำปรึกษาทางโภชนาการ เป็นต้น
สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
999 พุทธมณฑล สาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
โทรศัพท์ 0-2800-2380 โทรสาร 0-2441-9344

Message us