หมกปลา เป็นอาหารอิสานที่คล้ายห่อหมกในภาคกลาง แต่ถ้าขึ้นชื่อว่าอาหารอิสานแล้วจะเป็นอาหารที่ทำง่าย รวดเร็ว และไม่ใส่กะทิ และต้องคงเอกลักษณ์ของอาหารอีสาน คือ ต้องมีกลิ่นปลาร้าเป็นส่วนผสม เคล็ดลับหมกปลา จะอร่อยต้องนึ่งปลาอย่าให้คาว การนึ่งหมกปลาต้องต้มน้ำจนเดือดก่อนแล้วค่อยใส่หมกปลา มิฉะนั้น จะคาว กินไม่อร่อย เพียงง่ายๆ เท่านี้ ก็ได้เมนูอาหารอีสานอีกเมนูหนึ่งไว้รับประทานกันค่ะ | ||
คุณค่าอาหารทางโภชนาการ |
||
การนึ่ง เป็นวิธีประกอบอาหารอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมเช่นกันในภาคอีสานคือ ซึ่งก็จะเห็นว่าเป็นวิธีปรุงอาหารที่เราไม่ต้องใช้ไขมันในการประกอบอาหารเหมือนกับการปรุงอาหารประเภท การผัด หรือทอด ซึ่งก็น่าจะเหมาะกับคนในยุคนี้ ที่ต้องควบคุมปริมาณการบริโภคไขมัน อาหารอย่างเช่น เมนูหมกปลา ก็มีการใช้สมุนไพร เช่น ตะไคร้ ใบแมงลัก นอกจากความเป็นสมุนไพรแล้ว ยังมีคุณสมบัติในการดับคาวปลาได้ด้วย เมื่อนำมาปรุงแต่งในลักษณะนี้ ก็จะทำให้มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติจากสมุนไพร และการที่มีการใช้สมุนไพรดังกล่าวนี้ช่วยให้ลดการปรุงรสเค็มลงได้บางส่วน อาหารลักษณะปลาต่างๆ ที่มาปรุงอาหาร จะทำให้ผู้บริโภคได้รับโปรตีนจากเนื้อปลาและเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายเหมาะกับคนทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่อาจจะเคี้ยวเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆได้ไม่ค่อยสะดวกแล้ว หรือแม้แต่เด็ก ที่มีการรณรงค์บอกว่ารับประทานปลาแล้วจะทำให้ฉลาด แต่ถ้าจะให้เด็กรับประทานก็คงจะต้องระมัดระวังในเรื่องของก้าง ส่วนเครื่องเทศอื่นๆ เราจะเห็นว่าใส่อยู่ในชุดอาหารอีสานรวมทั้งเมนูนี้ก็คือ พริก บางท่านอยากทราบว่าการรับประทานพริก พริกมีประโยชน์อะไรบ้าง ความจริงพริกนี้มีจุดเด่นคือ มีเบต้าแคโรทีนค่อนข้านสูง แต่แน่นนอน เราคงต้องคาดหวังพึ่งการกินเบต้าแคโรทีนเพื่อเป็นแหล่งวิตามินเอ แต่พริกที่เรารับประทานเรารับประทานในปริมาณที่น้อย แต่ตัวพริกเองมีคุณสมบัติช่วยทำให้เราเจริญอาหารถ้าใส่ในปริมาณที่เหมาะสมพอสมควร ดังนั้นเมนูนี้ ก็น่าจะเป็นอีกเมนูหนึ่งที่น่าส่งเสริมสำหรับผู้ดูแลสุขภาพหากเราไม่ปรุงรสให้เค็มเกินไป ซึ่งขณะนี้ เรื่องเค็มเป็นจุดเน้น เพราะยุคนี้เป็นยุคที่จะส่งเสริมสุขภาพด้วยการรณรงค์ให้รับประทานกินอาหารที่มีประโยชน์ ดังนั้น ก็จะต้องระมัดระวังในส่วนประกอบอื่นที่ไม่ควรมากเกินไป ไม่ว่าไขมัน เกลือ เป็นต้น เพราะเป็นการป้องกันไม่ให้มีปัญหาโรคต่างๆ ตามมา |
||
ส่วนประกอบเครื่องปรุงหมกปลา |
วิธีทำหมกปลา |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลคุณค่าโภชนาการโดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุไรพร จิตต์แจ้ง |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิทยากรการปรุงอาหาร...ไสว หงส์คำ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เผยแพร่วันที่...15 ธันวาคม พ.ศ.2557 |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โครงการเผยแพร่และอนุรักษ์อาหารไทยผ่านเว็บไซต์สถาบันโภชนาการ |