ซุบหน่อไม้้ (ตำรับนี้รับประทานได้ประมาณ 4 คน)

 

Template 01
Template 01
Template 01

     หน่อไม้้   เป็นพืชที่นิยมนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลายชนิด มีมากในช่วงฤดูฝน ในทุกภาคของประเทศไทยจะมีอาหารพื้นบ้านที่ทำจากหน่อไม้หลายอย่างด้วยกัน

     ซุปหน่อไม้ ก็เป็นเมนูหนึ่งที่นำหน่อไม้มาปรุงให้มีรสชาติในแบบอีสาน  สำหรับซุปในภาษาอีสาน หมายถึง อาหารจำพวกยำ โดยจะเรียกชื่อตามวัตถุดิบที่นำมาประกอบเป็นหลัก เช่น ซุปเห็ด ซุปมะเขือ ซุปหน่อไม้ เป็นต้น

คุณค่าอาหารทางโภชนาการ

       ในช่วงฤดูฝน เราก็จะมีหน่อไม้เกิดขึ้นโตขึ้นในธรรมชาติ ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นก็จะมีความรู้ คือรู้ที่จะเอาหน่อไม้มาประกอบอาหารต่างๆมากมาย ซึ่งในช่วงดังกล่าวเป็นฤดูกาลที่รสชาติของหน่อไม้จะดีมาก แต่ถ้าจะช่วยให้สามารถรับประทานหน่อไม้ได้อย่างปลอดภัย ก็ต้องมีความรู้เล็กน้อยว่าจะต้องต้มให้สุก การที่บางคนบอกว่าหน่อไม้ดิบกินได้ นับเป็นความเข้าใจผิด เพราะว่าในธรรมชาติจะมีสารไซยาไนด์ที่เป็นพิษโดยเกิดขึ้นเองในหน่อไม้ ภูมิปัญญาเก่าเมื่อจะรับประทานหน่อไม้ต้องเอาหน่อไม้ไปต้มให้ร้อนเพียงพออย่างน้อย 10 นาที เพื่อจะสลายสารไซยาไนด์ แต่ถ้าเราไม่ต้ม การที่เรารับประทานหน่อไม้ดิบ ตัวสารไซยาไนด์จะมีฤทธิ์ไปจับกับสารฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง แล้วก็เป็นเหตุที่ทำให้ขาดออกซิเจน หากรับประทานมากก็อาจจะถึงแก่ชีวิตได้ แม้หน่อไม้จะไม่มีสารอาหารทางโภชนาการมากมาย แต่ใยอาหารในหน่อไม้ก็ช่วยในระบบขับถ่ายของคนได้ดี

       อีกส่วนหนึ่งที่มักมาคู่กับการทำอาหารที่ใช้หน่อไม้คือ เราจะพบว่ามีการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน อย่างเช่นใบย่านางก็จะมีรสชาติที่เข้ากันกับซุปหน่อไม้ได้ดี ตัวใบย่านางนี้ในความเป็นจริงแล้ว มีความเข้มข้นมากในเรื่องของสารอาหาร ในเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของวิตามินเอ วิตามินซี หรือแม้แต่แคลเซียมและเหล็ก แต่ว่าเราก็รับประทานในจำนวนไม่มาก ฉะนั้นในการที่จะทำรับประทานบ่อยๆ ก็จะได้รับวิตามินและเกลือแร่เหล่านี้เสริมจากการรับประทานใบย่านางไปด้วย

 
ส่วนประกอบเครื่องปรุงซุบหน่อไม้
วิธีทำซุบหน่อไม้
- หน่อไม้ (ลวก)
240
กรัม
- ใบย่านาง
26
กรัม
- เนื้อปลาช่อน (สด)
150
กรัม
- หอมแดง
24
กรัม
- กระเทียม
16
กรัม
- พริกป่น
3
กรัม
- น้ำปลา
5
กรัม
- น้ำปลาร้า
33
กรัม
- ตะไคร้
18
กรัม
- ต้นหอม (ซอย)
19
กรัม
- ใบผักแพรว (หั่นฝอย)
5
กรัม
- หอมเป (ผักชีฝรั่ง)
6
กรัม
- สะระเหน่
7
กรัม
- งาคั่ว (ป่น)
9
กรัม
- น้ำสะอาด (ต้มปลา)
50
กรัม
- น้ำสะอาด (คั้นใบย่านาง)
750
กรัม
     
     
     
     
1.
ก่อนอื่นก็ต้องเอาหน่อไม้ ที่จะใช้มาปลอกเปลือก   และนำไปต้มเพื่อล้างความขม และสารบางอย่างออกจากหน่อไม้เสียก่อน  ต้มจนหน่อไม้นุ่มอ่อนตัวลง เสร็จแล้วนำมาขูดเป็นเส้น ๆ โดยใช้ส้อมขูด เสร็จแล้วก็เก็บพักไว้ก่อน
2.
ต่อไปก็ต้มน้ำให้เดือด ใส่ตะไคร้และเนื้อปลาช่อนลงไปต้ม  ใส่น้ำปลาร้าที่เตรียมไว้ ลงไปในหม้อเลย เพื่อให้กลิ่นตะไคร้และปลาร้าเข้ากัน หอมทั้งน้ำและเนื้อปลา  เมื่อสุกก็เอามาแกะเอาแต่เนื้อปลา  พักไว้ก่อน ส่วนน้ำต้มปลาก็เก็บไว้ใช้ต่อ
3.
คราวนี้มาคั้นน้ำใบย่านาง โดยเอาใบย่านางมาตำให้ละเอียด แล้วเอามาละลายกับน้ำ กรองเอาแต่น้ำใบย่านางมาใช้ เสร็จแล้วก็เอาใส่หม้อขึ้นตั้งไฟ  ใส่หน่อไม้ลงไปต้ม  ให้น้ำใบย่านางซึมเข้าหน่อไม้
4.
ระหว่างนี้ก็เอาหอม และกระเทียมที่ย่างให้หอมแล้ว  มาตำในครกให้ละเอียด เมื่อละเอียดพอแล้ว ก็เอาเนื้อปลาที่แกะไว้แล้วมาใส่ครก โรยพริกป่นลงไปโขลกให้เข้ากับเนื้อปลา
5.
ใส่น้ำต้มปลาที่เหลือจากการต้มปลาลงไปด้วย โขลกคลุกเคล้าให้เข้ากัน เสร็จแล้วก็ตักขึ้นจากครก พักไว้ก่อน
6.
กลับไปดูหน่อไม้ที่ต้มกับน้ำใบย่านาง ว่าแห้งได้ที่แล้ว ก็เอามาใส่ครกตำให้หน่อไม้นุ่มและขาดออกจากกัน
7.
เอาเนื้อปลาที่โขลกไว้แล้ว มาใส่ในครก ใส่น้ำปลา โขลกคลุกเคล้าให้เข้ากัน
8.
เมื่อเข้ากันดีแล้วก็ใส่ผักที่เหลือลงไป ทั้งผักแพรว ต้มหอม  หอมเป  ใบสะระเหน่  และก็งาคั่ว ตำคลุกเคล้ากันอีกทีให้เข้ากัน   ตักใส่จาน โรยสะระเหน่ส่วนที่เหลือ เพื่อแต่งหน้าสักนิด เพื่อความสวยงาม ก็เป็นอันเสร็จสิ้นเมนูซุบหน่อไม้ รับประทานกับผักสด และข้าวเหนียว   หากมีไก่ย่างประกอบด้วย ก็ไม่ผิดกติกา จะเป็นการเพิ่มความน่ารับประทานให้กับอาหารมื้อนี้ยิ่งขึ้นไปอีก
   
ข้อมูลคุณค่าโภชนาการโดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุไรพร จิตต์แจ้ง
วิทยากรการปรุงอาหาร...ไสว หงส์คำ
เผยแพร่วันที่...15 ธันวาคม พ.ศ.2557
โครงการเผยแพร่และอนุรักษ์อาหารไทยผ่านเว็บไซต์สถาบันโภชนาการ
Go to Top