“แกงไตปลา ” แกงไตปลา เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของภาคใต้ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งเผ็ดและร้อนแรง รสเข้มข้นด้วยส่วนผสมที่ลงตัว จะเลือกรับประทานร่วมกับข้าวหรือขนมจีนก็อร่อยไม่แพ้กัน แกงไตปลามีทั้งชนิดไม่ใส่กะทิและใส่กะทิ สำหรับแกงไตปลาไม่ใส่กะทิ จะได้รับความนิยมมากกว่าแกงไตปลาชนิดใส่กะทิิ | ||
คุณค่าอาหารทางโภชนาการ |
||
แกงไตปลาเป็นอาหารประจำถิ่นของภาคใต้ แต่ปัจจุบันไม่ว่าจะเดินทางไปภาคไหนเราได้ชิมรสแกงไตปลากันทั่ว หน้า เพียงแต่ว่าจะเป็นตำรับดั้งเดิมของชาวปักษ์ใต้หรือไม่ก็คงต้องดูกันอีกที เมื่อนึกถึงแกงไตปลาเราก็จะนึกถึงความเผ็ด ความร้อน เพราะว่าเครื่องแกงจะมีความเผ็ดจากพริกขี้หนู และพริกไทย ทั้งสองอย่างเมื่อผสมรวมกันในเครื่องแกงก็จะทำให้แกงไตปลามีทั้งความเผ็ดและความร้อน นอกจากนี้คำว่า”ไตปลา”ก็คือพุงปลาที่นำไปหมัก การหมักก็ต้องอาศัยเกลือ ก็แน่นอนว่าไตปลาต้องมีความเค็ม เพราะฉะนั้นรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของแกงไตปลาก็คือ เผ็ด ร้อน และเค็ม เวลาที่นำมาปรุงก็จะปรุงได้สองแบบคือแบบใส่กะทิ กับไม่ใส่กะทิ ส่วนใหญ่แกงไตปลาที่นิยมกันทั่วไปคือ แกงไตปลาที่ไม่ใส่กะทิ ซึ่งก็เป็นข้อดี เพราะการใส่กะทิจะทำให้ไขมันเพิ่มมากขึ้น แกงไตปลานั้น มีทั้งความเค็มและความเผ็ด แล้วถ้าเพิ่มความมันอีก ก็ทำให้เวลารับประทานทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ สำหรับส่วนประกอบอื่นๆ โดยทั่วไปก็จะมีถั่วฝักยาว ฟักทอง มะเขือ แต่ถ้าเป็นอาหารประจำถิ่นจะมีการใส่ผักพื้นบ้านเช่น ใบส้มแป้นลงไป หรือถ้ามีกล้วยเล็บมือนางก็เอากล้วยเล็บมือนางที่ยังดิบอยู่หรือว่าห่ามๆ มาหั่นใส่ลงไป ก็เป็นผักชนิดหนึ่งที่สามารถนำมารับประทานได้ หากเราจะนำไปทำในภาคอื่นก็สามารถที่จะดัดแปลงใช้ผักท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่ได้ เพื่อความหลากหลาย นอกจากนำส่วนประกอบอีกชนิดหนึ่งก็คือ ปลา ก็คือปลาทู หรือเนื้อปลาชนิดอื่น เวลาเราไปซื้อมารับประทานเราจะไม่ค่อยเห็นเนื้อปลาสักเท่าไหร่ แต่ถ้าทำรับประทานเองก็อย่าลืมว่าเราต้องใส่เนื้อปลาด้วย เพราะปลาเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน เป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย และสามารถรับประทานได้เป็นประจำ รับประทานได้บ่อยๆ ส่วนข้อด้อยของแกงไตปลาคือความเค็ม เพราะว่ารสจะจัดมาก ดังนั้นเวลารับประทานต้องพยายามอย่ารับประทานน้ำแกงไตปลามากนัก และควรพยายามเสริมด้วยเครื่องเคียงที่เป็นผักหรืออาจจะรับประทานปลาทอดหรืออะไรก็ได้ตามเข้าไป ทำไมจึงต้องระมัดระวังความเค็มเพราะ ความเค็มจะทำให้ไตของเรา ทำงานหนัก เนื่องจากต้องขับความเค็มออกจากร่างกาย แล้วอาจจะทำให้สมดุลของความเป็นกรดด่างของร่างกายลดน้อยลงหรือว่าเสียสมดุลไป นอกจากนี้ความเค็มยังทำให้เกิดปัญหาเรื่องของความดันโลหิตสูง เพราะฉะนั้นคนที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นความดันโลหิตสูงหรือว่าเป็นอยู่แล้ว ควรรับประทานแกงไตปลาที่ลดรสชาติให้อ่อนลงมาแล้วควรเน้นรับประทานผักให้มากขึ้น เพื่อการมีสุขภาพที่ดีของตัวท่านเอง ทั้งนี้ไม่ได้ห้ามไม่ให้รับประทาน แต่ว่าถ้าชอบรับประทานเราก็ต้องรู้ตัวเราเองว่าเรามีความเสี่ยงต่อภาวะอะไรอยู่ ก็สามารถรับประทานได้แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไปโดยเน้นผักเป็นหลัก แล้วก็ได้รสชาติของไตปลาบ้าง ก็จะมีความสุขมากกว่าที่ไม่รับประทานเลยหรือรับประทานมากเกินไปจนทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นจนเป็นอันตรายต่อตัวท่านเอง เพราะฉะนั้นการรับประทานอาหารให้ถูกต้อง เราต้องรู้จักอาหาร แล้วก็รับประทานพอประมาณเหมาะสมกับร่างก่ายของเรา ก็จะเป็นประโยชน์ |
||
ส่วนผสม:เครื่องแกง |
วิธีทำเครื่องแกง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลคุณค่าโภชนาการโดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิทยากรการปรุงอาหาร...อัมพร มหารัตน์ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โครงการเผยแพร่และอนุรักษ์อาหารไทยผ่านเว็บไซต์สถาบันโภชนาการ |