“ผัดสะตอกับกะปิใส่กุ้ง ” สะตอ ผักพื้นบ้านสัญลักษณ์ของชาวใต้ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สะตอเป็นผักที่มีรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ชาวใต้นิยมนำสะตอมารับประทานเป็นผักสด หรือจะนำมาปิ้งไฟให้สุกรับประทานเป็นผักเคียงคู่กับน้ำพริกหรือกับข้าวต่างๆ นอกจากนี้ ยังนิยมนำมาประกอบเป็นกับข้าวอีกด้วย โดยเมนูที่ได้รับความนิยมในกลุ่มชาวใต้และภาคอื่นๆ คือ ผัดสะตอกับกะปิใส่กุ้ง เมนูนี้หารับประทานได้ง่าย รสชาติมีทั้งเค็ม เปรี้ยว หวานเล็กน้อย และมีความหอมจากกะปิิ | ||
คุณค่าอาหารทางโภชนาการ |
||
สะตอเป็นผักพื้นบ้านของทางภาคใต้ ซึ่งสะตอก็จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือมีกลิ่นและมีรสที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งกลิ่นและรสของสะตอก็จะมีทั้งคนชอบและคนที่ไม่ชอบ เวลากล่าวถึงสะตอ คนก็มักจะนึกถึงผัดสะตอ แต่จริงๆ แล้วเราสามารถรับประทานสะตอสด กับน้ำพริกหรือนำมาปรุงได้หลากหลายวิธี สำหรับผัดสะตอ นิยมผัดกับกุ้ง แต่บางท่านก็นิยมใส่หมูเข้าไปด้วย การผัดสะตอมักจะมีการใส่กะปิลงไปด้วย การผัดผักของทางภาคใต้จะไม่เหมือนกับภาคกลาง ก็คืออาหารภาคใต้จะมีรสชาติค่อนข้างจัด การผัดสะตอก็จะมีการใส่พริกขี้หนูลงไป เพื่อเพิ่มความเผ็ดเล็กน้อย ขณะเดียวกันก็จะมีการปรุงรสด้วยน้ำมะนาว การผัดสะตอกับกะปิ ใส่กุ้งหรือหมู หรือใส่ทั้งกุ้งและหมู ไม่ใช่ผัดที่มีรสชาติจืดๆ แต่จะเป็นผัดที่มีรสชาติ ทั้งเค็ม เปรี้ยว หวาน และเผ็ด จึงเป็นอาหารเมนูหนึ่งที่มีรสชาติอร่อยอย่างแน่นอน สำหรับคุณค่าทางโภชนาการ สะตอเป็นผักพื้นบ้าน การที่นำมาผัดใส่กุ้งหรือทั้งใส่กุ้งกับหมู จึงทำให้ได้โปรตีน การผัดก็ใช้น้ำมัน ก็จะได้ไขมัน ฉะนั้นสะตอผัดใส่กุ้งหรือหมูก็ตามก็จะเป็นเมนูกับข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างสูง ที่สำคัญก็คือ สะตออาจจะมีสารต้านอนุมูลอิสระ บางอย่างที่น่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีใยอาหารที่ช่วยในการดูแลระบบทางเดินอาหารของเรา โดยรวมก็คือ ผัดสะตอกับกะปิใส่กุ้งหรือห มู ก็จะเป็นกับข้าวเมนูหนึ่งที่เมื่อรับประทานกับข้าวแล้ว จะได้คุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างที่จะครบถ้วนสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามต้องระวังไว้บ้าง รสชาติที่จัดจ้านก็ ไม่ว่าจะเป็นรส เค็ม หวาน เพราะถ้าเรารับประทานมากเกินไปก็จะเป็นความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ คือไขมันก็จะทำให้เกิดโรคอ้วนหรือเสี่ยงโรคหัวใจ รสเค็มก็จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง รสหวานจะนำไปสู่ภาวะที่อาจจะเกิดความเคยชินกับความหวาน และในที่สุดก็อาจจะเป็นผลเสียต่อการเกิดโรคเบาหวาน เพราะฉะนั้นการปรุงรสต้องปรุงให้มีรสที่สมควร ต้องไม่จัดจ้านมาก หรือถ้ายังติดรสจัดก็ต้องรับประทานแต่น้อย และก็รับประทานกับข้าวให้พอเหมาะกับข้าว นั่นก็คือวิธีการที่บริโภคอาหาร เหมาะสมกับสุขภาพ มีรสชาติกำลังดี แล้วก็ควรรับประทานในสัดส่วนที่เหมาะสม |
||
ส่วนผสม:เครื่องกะปิ |
วิธีทำเครื่องกะปิ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลคุณค่าโภชนาการโดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิทยากรการปรุงอาหาร...อัมพร มหารัตน์ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โครงการเผยแพร่และอนุรักษ์อาหารไทยผ่านเว็บไซต์สถาบันโภชนาการ |