คั่วกลิ้งหมู (ตำรับนี้รับประทานได้ประมาณ 4 คน)

 

Template 01
Template 01
Template 01

      “คั่วกลิ้งหมู ” คั่วกลิ้ง เป็นอาหารปักษ์ใต้รสเผ็ดที่สามารถทำรับประทานเองได้ง่ายไม่ยุ่งยาก คั่วกลิ้งอาจใช้เนื้อวัว ไก่ หรือหมูก็ได้ สำหรับคั่วกลิ้งหมูส่วนประกอบก็มีเพียง เครื่องแกง นำมาผัดหรือที่เรียกว่าคั่วให้แห้ง ทำง่ายไม่ยุ่งยาก เครื่องแกงคั่วกลิ้ง ก็มีส่วนประกอบหลักเหมือนเครื่องแกงเผ็ดภาคใต้ทั่ว ๆ ไป แต่ความเผ็ดร้อน อาจแตกต่างกันบ้าง

คุณค่าอาหารทางโภชนาการ

       คั่วกลิ้งเป็นอาหารปักษ์ใต้อีกชนิดหนึ่งที่คนไทยเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น สมัยก่อนคนไทยในภาคอื่นๆ อาจจะรู้จักเพียงแกงไตปลา แกงเหลือง ส่วนประกอบหลักๆ ของคั่วกลิ้งคือ เนื้อสัตว์ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้หลายชนิด คือไก่ เนื้อ หรือหมู แต่ส่วนใหญ่จะนิยมหมู หมูที่ใช้ก็จะเป็นหมูสับหรือว่าหมูบด หากไม่อยากสับเองก็สามารถซื้อหมูบดมาใช้ได้ สำหรับเครื่องแกงที่ใช้ทำคั่วกลิ้ง คนปักษ์ใต้ก็บอกว่าคือพริกแกงเผ็ดทั่วไป แต่ทางปักษ์ใต้อาจใส่อะไรบางอย่างเพื่อเพิ่มความเผ็ดร้อนมากขึ้น เช่น พริกไทย เป็นต้น เพราะฉะนั้นส่วนประกอบหลักๆ ของคั่วกลิ้งก็มีเพียงเครื่องแกง และเนื้อหมู แล้วนำไปผัดและคั่วจนแห้ง เนื้อหมูร่วน เวลาที่รับประทานก็สามารถรับประทานค่อนข้างง่าย แต่ที่สำคัญต้องรับประทานร่วมกับผัก เพราะว่าอาหารเมนูนี้ไม่มีผักเป็นองค์ประกอบเลย จะมีก็เป็นเครื่องเทศสมุนไพรที่อยู่ในเครื่องแกงหรือว่าใบมะกรูดซอยที่ใส่เข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มความหอม เมื่อกล่าวถึงเครื่องแกงของไทย จริงๆแล้วประเทศไทยมีเครื่องแกงหลากหลายชนิดมาก เครื่องแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงแดง แกงสารพัดอย่าง เครื่องแกงหลักๆ ก็จะประกอบด้วย ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด กระเทียม บางที่ก็จะใส่หอมแดง ซึ่งเหล่านี้ก็เป็นเครื่องเทศที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีงานวิจัยที่ดำเนินการโดยสถาบันโภชนาการที่เกี่ยวกับเครื่องแกงคือ สถาบันโภชนาการได้นำเครื่องแกงไปศึกษาวิจัยแล้วก็พบว่า ในเครื่องแกงมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เพราะว่าเครื่องแกงเป็นส่วนผสมที่ลงตัวของเครื่องเทศสมุนไพรต่างๆ และเมื่อมีการนำไปทดสอบในห้องทดลองก็พบว่าช่วยลดหรือต้านการอักเสบที่เกิดขึ้นในเซลล์ของร่างกายได้ นี่คือข้อดีของเครื่องแกงต่างๆ และเมื่อนำเครื่องแกงมาผสมกับเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นแหล่งของโปรตีน ก็จะทำให้อาหารเมนูนี้นอกจากมีรสชาติที่ดีแล้ว ก็ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพในเรื่องของการลดการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ถ้าต้องการให้ดีมากยิ่งขึ้น ก็ควรจะต้องรับประทานร่วมกับผักหรือเครื่องเคียงต่างๆ นอกจากจะช่วยลดความเผ็ดร้อนต่างๆ แล้ว ก็เพิ่มใยอาหาร เพิ่มวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ ซึ่งได้จากผักพื้นบ้านนานาชนิด เช่น ยอดมันปู มียอดมะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น ส่วนภาคอื่นๆ ก็สามารถหาผักท้องถิ่นของตัวเองเอามารับประทานได้ คือถ้าต้องการจะรับประทานคั่วกลิ้งที่เป็นอาหารปักษ์ใต้แล้วสามารถหาผักท้องถิ่นที่มีอยู่มารับประทานควบคู่ เป็นการรับประทานอาหารที่ลงตัวเหมาะสม เพื่อให้ครบถ้วน และก็เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แม้คั่วกลิ้งจะมีรสเผ็ด ส่วนความเค็มอาจจะไม่มากนักเมื่อเทียบกับอาหารอย่างอื่นเช่น แกงไตปลา แต่ถ้ารับประทานร่วมกับผักก็จะได้ประโยชน์สูงสุด

 
ส่วนผสม:เครื่องแกง
วิธีทำน้ำข้าวยำ
- ตะไคร้หั่นฝอย
ช้อนโต๊ะ
- กระเทียมหั่นเป็นแว่น
2   
ช้อนโต๊ะ
- ข่าหั่น
3
ช้อนโต๊ะ
- ขมิ้น
½  
นิ้ว
- ผิวมะกรูดซอย
1
ช้อนโต๊ะ
- เกลือ
1
ช้อนชา
- พริกขี้หนูแห้งแช่น้ำ
35  
เม็ด
- พริกไทยเม็ด
2
ช้อนโต๊ะ
- กะปิ
1
ช้อนชา
- กะชาย   
ช้อนโต๊ะ
 
 
ส่วนประกอบเครื่องปรุงคั่วกลิ้งหมู
- เนื้อหมู
250
กรัม
- ใบมะกรูดหั่นฝอย
ช้อนโต๊ะ
- เครื่องแกง  
1
ส่วน
- พริกไทยสด
ช้อนโต๊ะ
1.
นำส่วนประกอบของเครื่องแกงที่เตรียมไว้มาโขลกให้ละเอียด เมื่อละเอียดแล้วใส่กะปิ โขลกให้เข้ากัน ตักใส่จานพักไว้
 
วิธีทำคั่วกลิ้งหมู
1.
นำกระทะตั้งไฟ
2.
ใส่เนื้อหมูที่สับหยาบๆ ลงไปค่อย ๆ ผัดจนหมูสุก  ใส่เครื่องแกง แล้วคั่วต่อจนเครื่องแกงเข้าเนื้อดี   คั่วต่อจนแห้ง  ใส่พริกไทยสดลงไปคั่วต่อ จนเม็ดพริกไทยอ่อนตัว จึงใส่ใบมะกรูดหั่นฝอยโรยลงไปคั่วต่อจนให้เข้ากันดี  แล้วยกลง ตักใส่จานเสิร์ฟพร้อมข้าวสวยร้อนๆ  รับประทานร่วมกับผักเคียงต่างๆ
   
   
ข้อมูลคุณค่าโภชนาการโดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล
วิทยากรการปรุงอาหาร...อัมพร มหารัตน์
โครงการเผยแพร่และอนุรักษ์อาหารไทยผ่านเว็บไซต์สถาบันโภชนาการ
Go to Top