“แกงอ่อมหมู” ทางล้านนาหรือทางภาคเหนือ ถือเป็นอาหารยอดนิยมอย่างหนึ่ง ของบรรดาอาหารเหนือทั้งหลาย โดยเฉพาะในเทศกาล งานบุญ งานเลี้ยงต่าง ๆ จะต้องมีแกงอ่อมไว้เลี้ยงต้อนรับ โดยจะใส่เนื้อปลา เนื้อวัว หรือเนื้อหมูก็ได้ แล้วแต่จะชอบ รูปร่างหน้าตารสชาติก็จะต่างกับแกงอ่อมภาคอีสานอย่างชัดเจน
|
||
คุณค่าอาหารทางโภชนาการ |
||
แกงอ่อมหมู เป็นอาหารพื้นเมืองของภาคเหนือเมนูหนึ่งที่นิยมบริโภคกัน ในการปรุง “แกงอ่อม” สามารถใส่เนื้อสัตว์ได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น เนื้อปลา เนื้อวัว หรือ เนื้อหมู ในที่นี้ขอนำเสนอแกงอ่อมหมู แกงอ่อมหมู นิยมใส่เครื่องในของหมูลงไปด้วย เพราะฉะนั้น ผู้บริโภคที่มีปัญหาเกี่ยวกับไขมันในเส้นเลือดสูง ผู้ที่มีคอเลสเทอรอลสูง และผู้ที่มีปัญหาเรื่องของไขข้อหรือโรคเก๊าท์ จะต้องระมัดระวังการบริโภคเมนูนี้ เมนูนี้เป็นเมนูที่ไม่มีการใส่กะทิ เพราะฉะนั้นจึงช่วยลดปริมาณไขมันในอาหารลงไปได้ ส่วนประกอบเด่นที่สำคัญของแกงอ่อมหมูที่เพิ่มรสชาติเผ็ดร้อนอีกตัวหนึ่งก็คือ ดีปลี ดีปลีมีสารสำคัญคือ พิเพอรีน (Piperine) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็งได้ นอกจากนี้ สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการปรุงแกงอ่อมของภาคเหนือคือ “มะแกว่น” มะแกว่นมีรสชาติเผ็ดร้อนและมีกลิ่นเฉพาะที่ทำให้แกงอ่อมของภาคเหนือมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ เครื่องเทศอื่นๆ ที่ใส่ในแกงอ่อมคือ ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ที่ใส่ลงไปก็ล้วนมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยดักจับสารพิษได้ นอกจากนี้ต้นหอมหรือว่าผักชีฝรั่งซอยโรยหน้าแกงอ่อมหมูก็จะช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้กับร่างกาย คลอโรฟิลล์ที่มีอยู่ในใบมะกรูดหรือในผักสีเขียวต่างๆก็สามารถดักจับสารพิษได้ดี เนื่องจากในการปรุงแกงอ่อมมีการใช้น้ำมันผัดกับเครื่องแกงก่อนที่เราจะใส่เนื้อหมูแล้วก็ส่วนประกอบต่างๆลงไป จึงควรระวังน้ำมันที่เราใช้ด้วย โดยจำกัดปริมาณของน้ำมันที่ใช่ผัดลงไปก็จะเป็นการดี ไป ลักษณะของแกงอ่อม เป็นเมนูหนึ่งที่มีน้ำแกงค่อนข้างมากกว่าอาหารเหนือชนิดอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่จะออกเหนียวขลุกขลิก มีน้ำเล็กน้อยช่วยให้สะดวกในการรับประทานคู่กับข้าวเหนียว สำหรับแกงอ่อมชนิดอื่นๆ ก็จะมีวิธีทำเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นเนื้อก็จะนำไปต้มก่อนแล้วค่อยนำมาปรุง |
||
สำหรับคุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภคของแกงอ่อมหมู เด่นๆ ก็คือ วิตามินเอ ซึ่งก็จะได้จากเครื่องในหมู ที่ใส่เข้าไป วิตามินเอ นอกจากจะได้จากเนื้อสัตว์ต่างๆแล้ว เบต้าแคโรทีน ในแกงอ่อมก็มีปริมาณสูงทีเดียว และร่างกายสามารถเปลี่ยนจากเบตาแคโรทีนให้เป็นวิตามินเอได้ โดยเบต้าแคโรทีนในเมนูอาหารชามนี้ก็ได้จากพืชผักต่างๆ ที่ใส่รวมกันลงไป | ||
เครื่องพริกแกงอ่อม |
วิธีทำเครื่องแกง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลคุณค่าโภชนาการโดย...มลฤดี สุขประสารทรัพย์ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ริญ เจริญศิริ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิทยากรการปรุงอาหาร...ทิวาพร ปินตาสี |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เผยแพร่วันที่...15 ธันวาคม พ.ศ.2557 |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โครงการเผยแพร่และอนุรักษ์อาหารไทยผ่านเว็บไซต์สถาบันโภชนาการ |