“ยำมะถั่วมะเขือ” ถ้าเทียบกับอาหารอีสานแล้ว ก็คงคล้าย ๆ กัน ซุปมะเขือ คำว่า มะถั่ว ก็คือ ถั่ว จะใช้ถั่วฝักยาว ถั่วแปบ ถั่วแขก ถั่วอะไรก็ได้หมด มะเขือ ก็ มะเขือทั่ว ๆไป เอามาตำรวมกัน มีเครื่องปรุงรสชาติอีกไม่มาก ที่ต่างกันอีกนิดหนึ่ง คือ ยำมะถั่วมะเขือใส่เนื้อหมูสามชั้นเข้าไปด้วย เพื่อเพิ่มโปรตีนและไขมันให้สำหรับเมนูนี้ |
||
คุณค่าอาหารทางโภชนาการ |
||
ยำมะถั่วมะเขือ เป็นอาหารที่แปลกจากภาคกลางหรือท้องถิ่นอื่นๆ แต่ถ้าเป็นจังหวัดทางภาคเหนือจะนิยมทำรับประทานกันเกือบทุกบ้านโดยรับประทานคู่กับข้าวเหนียว จุดเด่นของอาหารเมนูนี้ก็คือ การนำถั่วชนิดต่างๆ มาต้มหรือลวกรวมกัน และนำมะเขือต่างๆ มาต้มหรือลวกรวมกัน แล้วก็นำถั่วและมะเขือดังกล่าวมาตำรวมกัน พร้อมกับนำพริกแกง ประกอบไปด้วย พริก กระเทียม ข่า สิ่งที่สำคัญในเมนูนี้ก็คือ หมูสามชั้นหั่นเป็นแผ่นเล็กๆ แล้วก็นำมาผัดกับน้ำมัน หรือจะให้ดีก็อาจใช้ปลาย่างซึ่งจะให้รสชาติที่หอมน่ารับประทาน สำหรับ กระเทียม ข่า ที่ใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องแกงของยำมะถั่วมะเขือก็จะเป็นตัวที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ให้คุณค่าทางโภชนาการ ช่วในการยดักจับสารพิษที่เข้าสู่ร่างกายได้ ส่วนกระเทียมเจียวควรใช้กระเทียมเจียวสดๆ ไม่ควรซื้อกระเทียมเจียวสำเร็จรูปตามตลาดต่างๆมาใช้ เพราะว่าจะให้รสชาติที่หอมกว่า ที่สำคัญกระเทียมที่เจียวสดๆ จะมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่า เพราะว่าน้ำมันที่ใช้ทำกระเทียมเจียวจะสามารถสกัดเอาสารอัลลิซีน (allicin) หรือสารประกอบโพลีฟีนอล(polyphenol) ที่ละลายได้ในไขมันออกมา แต่ข้อควรระวังก็คือควรจะใส่กระเทียมเจียวแต่น้อย เพราะถ้าใส่มากไปก็จะเพิ่มปริมานไขมันในตำมะถั่วมะเขือ หรือเพิ่มปริมานไขมันในเส้นเลือดได้ คุณค่าทางโภชนาการหนึ่งหน่วยบริโภคของอาหารชนิดนี้มีดังนี้ |
||
จากตารางแสดงคุณค่าอาหาร ทั้งถั่วฝักยาวและมะเขือต่างให้สารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สารเหล่านี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยมะเขือจะมีปริมาณของสารดังกล่าวมากกว่าถั่วผักยาว แต่เมนูนี้มีการนำมะเขือต่างๆ และถั่วต่างๆ ไปต้มหรือไปลวก คุณค่าทางโภชนาการต่างๆ จะลดลงเมื่อเทียบกับผักสด แต่ก็ไม่ต้องกังวลเพราะเวลารับประทานจะรับประทานคู่กับผักสดเครื่องเคียงต่างๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มเสริมทดแทนกันได้ |
||
เครื่องแกง |
วิธีทำเครื่องแกง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลคุณค่าโภชนาการโดย...มลฤดี สุขประสารทรัพย์ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ริญ เจริญศิริ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิทยากรการปรุงอาหาร...ทิวาพร ปินตาสี |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เผยแพร่วันที่...15 ธันวาคม พ.ศ.2557 |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โครงการเผยแพร่และอนุรักษ์อาหารไทยผ่านเว็บไซต์สถาบันโภชนาการ |