ขนมจีนน้ำเงี้ยว (ตำรับนี้รับประทานได้ประมาณ 6 คน)

 

Template 01
Template 01
Template 01
      “ขนมจีนน้ำเงี้ยว”ขนมจีนคงเป็นอาหารจานโปรดของใครหลาย ๆ คน ขนมจีนมีด้วยกันหลายชนิด ทั้งขนมจีนน้ำพริกน้ำยา น้ำยาป่า น้ำยาปักษ์ใต้  ขนมจีนแกงเขียวหวาน รสชาติก็แตกต่างกัน แต่ถ้าเป็นของภาคเหนือก็ต้องเป็น ขนมจีนน้ำเงี้ยว หรือที่เรียกว่า เข้าหนมเส้นน้ำเงี้ยว ขนมจีนน้ำเงี้ยวนี้ เป็นอาหารของชนชาวไทยใหญ่ มีมาแต่โบราณ  แต่เครื่องปรุงบางอย่างได้ปรับแต่งให้ถูกรสชาติของทางคนเมือง น้ำเงี้ยวที่อร่อยรสชาติต้องเข้มข้น ของน้ำพริก มีรสเผ็ดนำเปรี้ยวตาม เค็มเล็กน้อย ส่วนใหญ่ทั่วไปที่เห็นกัน จะเป็นขนมจีนน้ำเงี้ยวหมู
 
คุณค่าอาหารทางโภชนาการ

       ขนมจีนน้ำเงี้ยว เป็นอาหารเมนูจานเดียว ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองของภาคเหนือของประเทศไทยจุดเด่นของขนมจีนน้ำเงี้ยว อยู่ที่การใช้เกสรดอกเงี้ยว ซึ่งเป็นเกสรตากแห้งนำมาเป็นส่วนประกอบที่ให้สีสันในเมนูนี้ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องพริกแกงก็คือพริกแห้ง กระเทียม กะปิ  จุดเด่นของเมนูขนมจีนน้ำเงี้ยวที่น่าสนใจก็คือการรับประทานเคียงคู่กับผักเครื่องเคียง ซึ่งผักเครื่องเคียงที่นิยมบริโภคคู่คือ ผักสดซึ่งหาได้ง่ายหาได้ตามท้องตลาดไม่ว่าจะเป็น ผักชี ต้นหอม หรือว่า ผักกาดขาว

       คุณค่าทางโภชนาการของขนมจีนน้ำเงี้ยว โดยองค์ประกอบเด่นๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกายก็คือ ส่วนของสารสกัดของเกสรดอกเงี้ยวแห้ง ซึ่งมีการวิจัยทั้งในต่างประเทศและในประเทศพบว่าสามารถป้องกันเซลล์มะเร็งได้และป้องกันโรคเบาหวาน สิ่งที่เป็นตัวชูโรงอีกอย่างของขนมจีนน้ำเงี้ยวก็คือ เต้าเจี้ยว เพื่อจะให้มีรสชาติเด่นขึ้น จึงมีการผสมเตาเจี้ยวลงไปในส่วนประกอบ คนทางภาคเหนือจะรับประทานออกเค็มออกเปรี้ยวเล็กน้อยไม่ติดหวานเหมือนภาคกลาง คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภคของขนมจีนน้ำเงี้ยวประกอบด้วยคุณประโยชน์ดังตารางแสดงคุณค่าอาหารด้านล่าง

       เมื่อได้ทราบคุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภคของขนมจีนน้ำเงี้ยวแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าสิ่งที่เราควรระวังก็คือ เนื้อสัตว์ที่มีอยู่ในขนมจีนน้ำเงี้ยว โดยมากตามร้านอาหารจะใช้เนื้อหมูติดมัน โดยนำมาทำเป็นเนื้อสับ หรือถ้าเป็นเนื้อไก่ก็จะเป็นไก่ติดมัน เพราะจะให้รสชาติที่อร่อยกว่า เพราะไขมันจะช่วยชูโรงให้อาหารมีความกลมกล่อมขึ้น แต่ก็ถ้าเราทำรับประทานเองที่บ้านขอแนะนำให้ใช้เนื้อสับ โดยใช้ส่วนที่มีไขมันน้อยในการทำหมูสับ หรือ ถ้าใช้เนื้อไก่ควรใช้ส่วนที่เป็นหน้าอก เพราะว่าจะได้มีปริมาณไขมันน้อยลง และก็อีกอย่างนึ่งก็คือ เกสรดอกเงี้ยวที่ใส่ลงในขนมจีนน้ำเงี้ยว แนะนำให้บริโภคเข้าไปด้วยเพราะว่ามีคุณค่าดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น แล้วยังให้ใยอาหารซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยดักจับสารพิษในลำไส้ได้ด้วย ที่สำคัญก็คือ ควรบริโภคคู่กับผักเครื่องเคียง รับประทานผักเครื่องเคียงได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเพราะว่า ผักมีประโยชน์ต่อร่างกาย มีทั้งสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินต่างๆ ที่ร่างกายได้นำเอาไปใช้ประโยชน์ ขนมจีนน้ำเงี้ยว อย่าใส่น้ำมันมาก เพราะเนื้อหมูก็มีความมันอยู่แล้ว ควรระมัดระวังเรื่องไขมันกันด้วย ก่อนจากคำว่าเงี้ยว เป็นคำไทยใหญ่ แต่อย่าไปเรียก คนไทยใหญ่ว่าเงี้ยว เพราะเขาไม่ชอบ

 
ส่วนผสมเครื่องพริกแกงขนมจีน
วิธีทำเครื่องแกง
- พริกแห้ง (เม็ดใหญ่) 8 เม็ด
- กระเทียมไทย 25 กลีบ
- หอมแดง 15 หัวเล็ก
- รากผักชี 6 ราก
- กระชาย 7 หัว
- กะปิ 2 ช้อนชา
- เกลือ(ป่น) ½ ช้อนชา
     
เครื่องปรุงน้ำซุป
- น้ำสะอาด 5 ถ้วยตวง
- กระดูกหมู 2 ขีด
- ดอกงิ้ว 1 ถ้วยตวง
     
เครื่องปรุงขนมจีนน้ำเงี้ยว
- เลือดไก่ต้มสุก (หั่นเป็นสี่เหลี่ยม) 4 1/2 ขีด
- มะเขือเทศสีดา (ผ่าซีก) 18 ลูก
- เต้าเจียว 3 ช้อนโต๊ะ
- หมูสับ 250 กรัม
- เครื่องพริกแกงน้ำเงี้ยว 7 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมันพืช 5 ช้อนโต๊ะ
- กระเทียม (สับ) 15 กลีบ
- น้ำซุปกระดูกหมู 4 ถ้วยตวง
- กระเทียมเจียวกากหมู 3 ช้อนโต๊ะ
- ต้นหอมผักชี(ซอย) 3 ต้น
   
1.

นำ พริกแห้งเม็ดใหญ่  กระเทียม  หอมแดง  รากผักชี  กระชาย  เกลือ  กะปิ นำมาโขลกรวมกันให้ละเอียดก็จะได้เครื่องพริกแกงน้ำเงี้ยว

วิธีทำน้ำซุป
1. ต้มน้ำให้เดือด ใส่กระดูกหมู และดอกงิ้วลงไปต้ม
2. เคี่ยวจนกระดูกหมูเปื่อย ก็จะได้น้ำซุป สำหรับทำน้ำเงี้ยว
   
วิธีทำขนมจีนน้ำเงี้ยว
1. เจียวกระเทียมให้หอม เอาเครื่องพริกแกง เข้าไปรวนให้หอม นำหมูสับลงไปผัดให้เข้ากันกับเครื่องพริกแกง
2. พอหมูสุกก็ใส่เต้าเจี้ยวลงไปผัดให้เข้ากัน
3. ใส่มะเขือเทศ ลงไปผัดจนมะเขือเทศสุก
4. เมื่อมะเขือเทศสุกแล้ว ก็ตักลงหม้อที่มีน้ำซุปกระดูกหมู ตั้งไฟคอยไว้แล้ว
5. ต้มต่อจนน้ำแกงเดือด ก็เอาเลือดไก่มาใส่ คนให้เข้ากัน
6. ตั้งไฟต่ออีกสักพัก ให้น้ำเงี้ยวค้นได้ที่ ก็เป็นอันเสร็จ ขั้นตอนการทำน้ำเงี้ยว ตักขึ้นใส่ถ้วยโรยด้วย กระเทียมเจียวกากหมู และต้นหอมผักชี
   
   
   
ข้อมูลคุณค่าโภชนาการโดย...มลฤดี สุขประสารทรัพย์
ริญ เจริญศิริ
วิทยากรการปรุงอาหาร...ทิวาพร ปินตาสี
เผยแพร่วันที่...15 ธันวาคม พ.ศ.2557
โครงการเผยแพร่และอนุรักษ์อาหารไทยผ่านเว็บไซต์สถาบันโภชนาการ
Go to Top