“หลนเต้าเจี้ยว” อาหารไทย ๆ สไตล์เครื่องจิ้ม ไม่ว่าจะเป็นหลนเต้าเจี้ยวหมูสับ หรือกุ้งสับ หรือจะทั้งสองอย่างก็เข้ากันได้ รับประทานกับผักสดตามชอบ มีรสชาติอร่อย ในการปรุงเต้าเจี้ยวหลน มีการใส่กะทิ เต้าเจี้ยวหลนจึงมีลักษณะเป็นน้ำข้นๆ รสชาติถูกปากถูกคอคนไทยไม่น้อยทีเดียว
| ||
คุณค่าอาหารทางโภชนาการ |
||
หลนเต้าเจี้ยว เป็นอาหารที่มีรสชาติค่อนข้างอ่อน การที่มีกะทิเข้ามาเป็นส่วนประกอบในหลน ทำให้ตัวเครื่องจิ้มชนิดนี้ มีความหวานแล้วก็มีความมัน ส่วนประกอบหลักๆ อื่นๆ ที่เป็นเนื้อสัตว์ บางท่านก็นิยมใส่กุ้ง บางท่านก็นิยมใส่หมู เพราะฉะนั้นถ้าดูจากส่วนประกอบแล้วพบว่า ในตัวหลนเต้าเจี้ยว มีความสมบูรณ์ในตัว ทั้งโปรตีน และไขมัน แต่สิ่งที่คนทั่วไปมักจะกังวลว่า เมื่อหลนใส่กะทิจะมีปัญหาไหม จริงๆ แล้ว อาหารที่เป็นเราไม่ได้รับประทานเครื่องจิ้มกันมากมาย จะรับประทานอย่างพอประมาณ ก็และรับประทานคู่กับผัก การรับประทานหลน จะไม่นำหลนไปคลุกข้าวรับประทาน แต่ต้องรับประทานผักด้วย อาหารจานนี้ก็เป็นอาหารที่เหมาะกับสุขภาพ เนื่องจากว่ามีผักทั้งหลายเป็นเครื่องเคียง ซึ่งก็แล้วแต่จะรับประทานผักอะไร ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผักสดล้วนๆ นักโภชนาการแนะนำว่าคนเราควรรับประทานผักและผลไม้ให้ได้อย่างน้อยวันละประมาณ 4 ขีด หรือ ครึ่งกิโล ถ้าเราสามารถรับประทานได้อย่างนี้ทุกวันรับรองว่าเราจะปลอดจากโรคภัยไขเจ็บทั้งหลายแล้วก็จะมีสุขภาพดีมาก เพราะว่าผักที่เป็นเครื่องเคียงของเครื่องจิ้มไม่ว่าจะเป็นหลนหรืออาหารอะไรก็ตาม จะเป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ แล้วที่สำคัญก็คือ เป็นแหล่งของใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่ายสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะฉะนั้น หากท่านที่นิยมรับประทานหลนก็สามารถรับประทานได้ เพียงแต่ต้องระวังอย่ารับประทานตัวเครื่องจิ้มมากเกินไป ให้รับประทานผักและเครื่องจิ้มในสัดส่วนที่เหมาะสม จะเกิดประโยชน์ต่อตัวท่านเอง |
||
ส่วนผสม:หลนเต้าเจี้ยว |
วิธีทำน้ำพริกปลาทู |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลคุณค่าโภชนาการโดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิทยากรการปรุงอาหาร...อทิตดา บุญประเดิม |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โครงการเผยแพร่และอนุรักษ์อาหารไทยผ่านเว็บไซต์สถาบันโภชนาการ |