ต้มยำปลากะพง (ตำรับนี้รับประทานได้ประมาณ 4 คน)

 

Template 01
Template 01
Template 01
       “ต้มยำปลากะพง”  เป็นอาหารที่มีทั้งน้ำข้นและน้ำใส ต้มยำเป็นอาหารยอดนิยมอีกเมนูหนึ่ง มีการเลือกใช้เนื้อสัตว์ต่างๆ ตามแต่ความชอบ เช่น กุ้ง ไก่ เป็นต้น แม้ต้มยำกุ้งจะโด่งดังทั่วโลก แต่ต้มยำปลากะพงก็เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน  สิ่งสำคัญในการปรุงต้มยำปลากะพงคือ ปลากะพงจะต้องสด
 
คุณค่าอาหารทางโภชนาการ

        ปลากะพงแดง ซึ่งก็เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง การรับประทานปลาทะเลก็จะได้ ไอโอดีนที่มีอยู่ในปลา และขณะเดียวกันในปลากะพงแดงก็จะมี โอเมก้า 3 อยู่บ้าง ต้มยำทั่วๆ ไปก็จะประกอบไปด้วยสมุนไพรหลักๆ ก็คือ ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดและพริก ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว เราจะใช้ในการปรุง แต่ง กลิ่น รส โดยแนะนำให้ใช้ ข่าอ่อน ใบมะกรูดอ่อน จะได้รับประทานได้ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เราจะได้สารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ได้ใยอาหารจากสมุนไพรเหล่านั้นด้วย นอกจากนี้มีการใช้น้ำมะนาวเป็นตัวให้ความเปรี้ยว ซึ่งมะนาวก็มีประโยชน์ คือมีวิตามินซี ซึ่งแนะนำให้เติมมะนาวหลังจากที่ปรุงทุกอย่างเสร็จหมดแล้ว เพื่อไม่ให้มะนาวถูกความร้อนมากเกินไป เพราะว่าวิตามินซีเมื่อถูกความร้อนแล้วจะสูญสลายได้ง่าย ส่วนประกอบอื่นๆ ของต้มยำ ก็คือเห็ด เพราะฉะนั้นการใส่เห็ดเข้าไปมีประโยชน์ต่อสุขภาพคือ มีสารบางอย่างที่ช่วยป้องกัยโรคได้เช่นกัน ความนิยมของเห็ดมีมากขึ้นๆ ทุกวัน แต่เห็ดก็มีหลากหลายชนิด แต่เห็ดที่คนไทยรับประทานกันค่อนข้างประจำ หาซื้อได้ง่ายในราคาไม่แพง ก็คือเห็ดฟาง คุณประโยชน์ต่อสุขภาพอาจจะไม่มากเท่ากับเห็ดหอม หรือเห็ดอื่นๆ ที่เขาโฆษณากัน แต่ก็ยังมีคุณสมบัติที่ดี มีสารบางอย่าง มีใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายนั้นดีขึ้น แล้วก็ช่วยในเรื่องของการย่อยอาหารได้ด้วย

 
ส่วนผสม
วิธีทำ
- ปลากะพงแดงหั่นชิ้น
500 
กรัม
- ตะไคร้หั่นแฉลบ
3
ต้น
- ใบมะกรูดฉีก
5
ใบ
- ข่าอ่อนหั่นแว่น
20
แว่น
- พริกขี้หนูบุบพอแตก
20
เม็ด
- ผักชีฝรั่งหั่นท่อน
7
ใบ
- เห็ดฟาง
200
กรัม
- น้ำปลา
4
ช้อนโต๊ะ
- น้ำมะนาว
5
ช้อนโต๊ะ
- น้ำซุปไก่
4
ถ้วยตวง
1.
ต้มน้ำซุปให้เดือด ใส่ขาอ่อน ตะไคร้  รอให้เดือดอีกครั้งใส่ปลากะพง พอปลาสุกใส่เห็ดฟาง ปรุงรสด้วยน้ำปลา พอเดือดยกลง
2.
เติมน้ำมะนาว พริกขี้หนูบุบ ใส่ใบมะกรูดและผักชีฝรั่ง ตักเสิร์ฟขณะร้อนๆ
   
ข้อมูลคุณค่าโภชนาการโดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล
วิทยากรการปรุงอาหาร...อทิตดา บุญประเดิม
โครงการเผยแพร่และอนุรักษ์อาหารไทยผ่านเว็บไซต์สถาบันโภชนาการ
Go to Top