หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ :

จากห้องเรียนสู่สังคม ครั้งที่ 8

ที่มาและความสำคัญ :

การผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ จำเป็นต้องมีบัณฑิตที่มีคุณลักษณะของการมีจิตสาธารณะ ทำประโยชน์ให้กับสังคมและชุมชน โดยมุ่งหวังให้ประชาชนได้รับความรู้ด้านอาหารและโภชนาการที่ถูกต้อง และความรู้ทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้น  

ช่วงเวลาที่จัดโครงการ :

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2562

สถานที่จัดโครงการ :

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองใหม่ ต.คลองใหม่ อ.สามพราน จ.นครปฐม

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย :

สถาบันโภชนาการ และนักศึกษาทั้งไทยและต่างชาติ รหัส 61

วัตถุประสงค์ :

เพื่อสร้างจิตสำนึกให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงหน้าที่ในการทำกิจกรรมร่วมกับสังคมและชุมชน การให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ และด้านสาธารณสุขเบื้องต้น ทำให้เกิดความสามัคคีและสามารถบริหารจัดการโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปแบบการดำเนินโครงการ :

นักศึกษาจัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการและด้านการสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ครูและเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมโครงการ :

นักศึกษาทั้งไทยและต่างชาติ รหัส 61 

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ :

28 คน

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากโครงการ :

เด็กเล็กและครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ และ ด้านการสาธารณสุขเบื้องต้นที่ถูกต้อง สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

-

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ :

-

รูปภาพประกอบ:

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ :

โครงการ Mahidol Apprenticeship Program Curriculum (MAP-C) เปิดให้บุคคลทั่วไปได้ศึกษารายวิชาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท เอก) รายวิชา NUTS 631 MICRONUTRIENT AND FUNCTIONAL FOOD FOR REDUCTION OF NON- COMMUNICABLE DISEASES' RISK 

ที่มาและความสำคัญ :

เป็นโครงการของบัณฑิตวิทยาลัยเพื่อต่อยอดความรู้ พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับเพิ่มขีดจำกัดในการทำงาน และการใช้ชีวิตในสังคมในศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิสาขาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัยเล็งเห็นว่า วิชา NUTS631 ซึ่งเป็นวิชาเลือกที่เปิดให้กับนักศึกษาปริญญาโทในสาขานั้น มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และเป็นที่สนใจของบุคคลภายนอกที่มีคุณวุฒิเหมาะสม เช่น บุคลากรทางการแพทย์ อาจารย์มหาวิทยาลัย พนักงานของรัฐ และนักวิจัยในบริษัทผู้ผลิตอาหาร เป็นต้น จึงได้เปิดให้บุคคลภายนอกมาเรียนร่วมกับนักศึกษาในหลักสูตร

ช่วงเวลาที่จัดโครงการ :

แบบภาคปกติ (วันศุกร์)     วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 – 17 กรกฎาคม 2563

แบบภาคพิเศษ (วันอาทิตย์) วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 – 19 กรกฎาคม 2563

สถานที่จัดโครงการ :

สอนสดออนไลน์ผ่านระบบ zoom ของ สถาบันโภชนาการ 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย :

ผู้จัดโครงการและดำเนินการสอน

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

วิทยากรผู้สอนร่วม

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

วัตถุประสงค์ :

เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านสารอาหารรอง และอาหารสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สามารถลงเรียนได้ 

รูปแบบการดำเนินโครงการ :

สอนสดแบบออนไลน์ ผ่านระบบ zoom ของ สถาบันโภชนาการ และผู้เรียนสามารถดูวีดีโอการสอนย้อนหลังผ่าน google classroom  

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมโครงการ :

บุคคลทั่วไปที่สนใจโดยกำหนดคุณสมบัติว่า เป็นผู้จบปริญญาตรีขึ้นไปในสายวิทยาศาสตร์ เคยศึกษาวิชา สรีรวิทยา ชีวเคมี วิทยาศาสตร์การอาหาร หรือโภชนาการ สาขาใดสาขาหนึ่ง

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ :

31 คน แบ่งเป็นภาคปกติวันศุกร์ 15 คน ภาคพิเศษวันอาทิตย์ 16 คน 

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากโครงการ :

ผู้ที่เลือกเรียนแบบ Audit ไม่เก็บหน่วยกิต สามารถขอใบรับรองได้

ส่วนผู้ที่เลือกเรียนแบบ credit สามารถเก็บหน่วยกิต ๒ หน่วยกิตสะสม ได้ 5 ปี

โดยองค์ความรู้ที่ได้จากวิชานี้เป็นประโยชน์ในงาน วิจัยและพัฒนาอาหารสุขภาพ งานขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ และงานให้บริการทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารสุขภาพ และการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

-

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ :

2, 3

รูปภาพประกอบ:

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ :

โครงการ MAP-Ex หลักสูตรระยะสั้นสำหรับบุคคลทั่วไป หลักสูตรออนไลน์ “สารก่อมะเร็งในอาหาร

ที่มาและความสำคัญ :

เป็นโครงการของสถาบันโภชนาการเพื่อต่อยอดความรู้ พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับเพิ่มขีดจำกัดในการทำงาน และการใช้ชีวิตในสังคมในศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิสาขาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย ได้ทำการสำรวจทาง facebook ของหลักสูตร พบว่าหัวข้อ สารก่อมะเร็งในอาหาร เป็นหัวข้อที่ผู้ติดตามเพจ อยากเรียนเป็นหลักสูตรระยะสั้น มากเป็นลำดับต้นๆ จึงได้เกิดการสร้างหลักสูตรดังกล่าวขึ้น ภายใต้แนวคิดว่า “ ไม่จำกัดวุฒิ เรียนเวลาใดก็ได้ และ เรียนจบได้ใบประกาศ” ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องสารก่อมะเร็งในอาหาร และแนวทางในการป้องกันมะเร็งโดยเริ่มจากหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง การลดสารก่อมะเร็งในอาหารในระหว่างประกอบอาหาร และการลดสารก่อมะเร็งในอาหารโดยจับคู่กับอาหารต้านสารก่อมะเร็ง

ช่วงเวลาที่จัดโครงการ :

เปิดรับตลอดปี เริ่มเปิดลงทะเบียนวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 และเริ่มเรียนวันที่ 16 กรกฏาคม 2563

มีเวลาเรียน 1 เดือน ตามช่วงเวลาที่เลือก ตอนที่ลงทะเบียน 

สถานที่จัดโครงการ :

เรียนผ่าน google classroom 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย :

ผู้จัดโครงการและดำเนินการสอน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 

วัตถุประสงค์ :

เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับบุคคลทั่วไปไม่จำกัดวุฒิ ให้ได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน

รูปแบบการดำเนินโครงการ :

เรียนผ่าน google classroom ผู้เรียนกำหนดเวลาเรียนเอง มีวีดีโอการสอน เอกสารประกอบ และแบบทดสอบท้ายบทเรียนทุกบท เมื่อทำแบบทดสอบครบ ถ้าได้คะแนนรวมถึง 70 คะแนน ทางสถาบันโภชนาการออกใบประกาศให้

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมโครงการ :

ผู้สนใจทั่วไป ไม่จำกัดวุฒิ 

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ :

เดือนละไม่เกิน 30 คน คาดว่า จะมีผู้เข้าร่วมตลอดปี อย่างน้อย 200 คน 

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากโครงการ :

นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันในการหลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็ง และเทคนิคการรับประทานอาหารให้สัมผัสสารก่อมะเร็งน้อยที่สุด เพื่อประโยชน์ในการป้องกันโรคและสุขภาพที่ดี 

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

-

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ :


3, 4

รูปภาพประกอบ:

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ :

โครงการ Mahidol Apprenticeship Program Curriculum (MAP-C) เปิดให้บุคคลทั่วไปได้ศึกษารายวิชาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท เอก) รายวิชา NUTS 625 Research methodology in Food and Nutritional Toxicology

ที่มาและความสำคัญ :

เป็นโครงการของบัณฑิตวิทยาลัยเพื่อต่อยอดความรู้ พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับเพิ่มขีดจำกัดในการทำงาน และการใช้ชีวิตในสังคมในศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิสาขาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัยเล็งเห็นว่า วิชา NUTS625 ซึ่งเป็นวิชาบังคับที่เปิดให้กับนักศึกษาปริญญาโทในสาขานั้น มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และเป็นที่สนใจของบุคคลภายนอกที่มีคุณวุฒิเหมาะสม เช่น บุคลากรทางการแพทย์ อาจารย์มหาวิทยาลัย พนักงานของรัฐ และนักวิจัยในบริษัทผู้ผลิตอาหาร เป็นต้น จึงได้เปิดให้บุคคลภายนอกมาเรียนร่วมกับนักศึกษาในหลักสูตร

ช่วงเวลาที่จัดโครงการ :

วันที่ 12 มกราคม 2563 – 3 พฤษภาคม 2563

สถานที่จัดโครงการ :

ช่วงวันที่ 12 มกราคม 2563 – 22 มีนาคม 2563 เรียนในห้องเรียน

ช่วงวันที่ 29 มีนาคม 2563 – 3 พฤษภาคม 2563 สอนสดออนไลน์ผ่านระบบ webex และ zoom  

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย :

ผู้จัดโครงการและดำเนินการสอน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 

วัตถุประสงค์ :

เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านการออกแบบการวิจัยทางพิษวิทยาอาหารและโภชนาการ 

รูปแบบการดำเนินโครงการ :

ภาคทฤษฎี มีทั้งเรียนในห้อง และสอนสดออนไลน์ ผ่าน webex

ภาคปฏิบัติ มีทั้งเรียนในห้องคอมพิวเตอร์ และสอนสดออนไลน์ผ่าน zoom

ทั้งนี้ คาบออนไลน์ ผู้เรียนสามารถดูวีดีโอการสอนย้อนหลังผ่าน google classroom  

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมโครงการ :

บุคคลทั่วไปที่สนใจโดยกำหนดคุณสมบัติว่า เป็นผู้จบปริญญาตรีขึ้นไปในสายวิทยาศาสตร์ เคยศึกษาวิชา สรีรวิทยา ชีวเคมี วิทยาศาสตร์การอาหาร หรือโภชนาการ สาขาใดสาขาหนึ่ง

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ :

2 คน 

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากโครงการ :

ผู้เรียนเลือกเรียนแบบ Audit ไม่เก็บหน่วยกิต สามารถขอใบรับรองได้

โดยองค์ความรู้ที่ได้จากวิชานี้เป็นประโยชน์ในการออกแบบการวิจัยด้านอาหารและโภชนาการ ซึ่งขณะนี้ทราบมาว่า ผู้เรียนได้นำไปใช้ในการจัดทำโครงร่างวิจัยแล้ว  

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:


SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ :


3, 4

รูปภาพประกอบ:

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ :

โครงการ Mahidol Apprenticeship Program Curriculum (MAP-C) เปิดให้บุคคลทั่วไปได้ศึกษารายวิชาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท เอก) รายวิชา NUTS 629 Health risk of excess nutrients and regulation enforcement 

ที่มาและความสำคัญ :

เป็นโครงการของบัณฑิตวิทยาลัยเพื่อต่อยอดความรู้ พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับเพิ่มขีดจำกัดในการทำงาน และการใช้ชีวิตในสังคมในศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิสาขาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัยเล็งเห็นว่า วิชา NUTS629 ซึ่งเป็นวิชาบังคับที่เปิดให้กับนักศึกษาปริญญาโทในสาขานั้น มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และเป็นที่สนใจของบุคคลภายนอกที่มีคุณวุฒิเหมาะสม เช่น พนักงานของรัฐ และนักวิจัยในบริษัทผู้ผลิตอาหาร เป็นต้น จึงได้เปิดให้บุคคลภายนอกมาเรียนร่วมกับนักศึกษาในหลักสูตร

ช่วงเวลาที่จัดโครงการ :

วันที่ 12 มกราคม 2563 – 3 พฤษภาคม 2563

สถานที่จัดโครงการ :

ช่วงวันที่ 12 มกราคม 2563 – 22 มีนาคม 2563 เรียนในห้องเรียน

ช่วงวันที่ 29 มีนาคม 2563 – 3 พฤษภาคม 2563 สอนสดออนไลน์ผ่านระบบ Webex 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย :

ผู้จัดโครงการและดำเนินการสอน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 

วัตถุประสงค์ :

เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านการออกแบบการวิจัยทางพิษวิทยาอาหารและโภชนาการ 

รูปแบบการดำเนินโครงการ :

มีทั้งเรียนในห้อง และสอนสดออนไลน์ ผ่าน Webex

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมโครงการ :

บุคคลทั่วไปที่สนใจเรียนรู้เรื่องการประเมินความเสี่ยงของสารอาหารในผลิตภัณฑ์อาหาร/เสริมอาหาร มีพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร​ ชีวเคมี​ วิทยาศาสตร์สุขภาพ​หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ :

2 คน 

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากโครงการ :

มีทั้งผู้เรียนที่เลือกเรียนแบบ Audit ไม่เก็บหน่วยกิต สามารถขอใบรับรองได้ และผู้เรียนที่เรียนแบบ credit เก็บหน่วยกิตได้ 5 ปี โดยองค์ความรู้ที่ได้จากวิชานี้เป็นประโยชน์ในแนวทางจัดทำรายงานการประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารใหม่​ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร​และวัตถุเจือปนอาหาร

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:


SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ :


2, 3

รูปภาพประกอบ:

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ :

โครงการ Mahidol Apprenticeship Program Curriculum (MAP-C) เปิดให้บุคคลทั่วไปได้ศึกษารายวิชาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท เอก) รายวิชา NUTS 502 Principles in Biochemistry and Physiology

ที่มาและความสำคัญ :

เป็นโครงการของบัณฑิตวิทยาลัยเพื่อต่อยอดความรู้ พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับเพิ่มขีดจำกัดในการทำงาน และการใช้ชีวิตในสังคมในศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิสาขาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัยเล็งเห็นว่า วิชา NUTS502 ซึ่งเป็นวิชาปรับพื้นฐานที่เปิดให้กับนักศึกษาใหม่ที่สอบเข้าเรียนได้แต่ยังขาดพื้นฐานด้าน สรีรวิทยาและชีวเคมี ทั้งนี้เนื่องจากในการรับสมัครรอบที่ 4 ผู้สมัครสอบจะต้องมีคุณสมบัติคือเคยเรียนวิชาสรีรวิทยาและชีวเคมีมาแล้ว ดังนั้นจึงได้เปิดโอกาสให้ผู้สนใจสมัครเรียนปริญญาโทในรอบที่ 4 สามารถมาลงเรียนรายวิชานี้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานขอสมัครสอบรอบที่ 4 ได้ 

ช่วงเวลาที่จัดโครงการ :

รอบวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00 – 12.00 น ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน – ศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม 2563

รอบวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 8.00 – 12.00 น. ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน – อาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม 2563

สถานที่จัดโครงการ :

สอนสดออนไลน์ผ่านระบบ Webex 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย :

ผู้จัดโครงการและดำเนินการสอน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 

วัตถุประสงค์ :

เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับบุคคลทั่วไปที่สนใจเรียนต่อปริญญาโท และต้องการปรับพื้นฐานก่อนเรียน 

รูปแบบการดำเนินโครงการ :

สอนสดแบบออนไลน์ ผ่านระบบ zoom ของ สถาบันโภชนาการ และผู้เรียนสามารถดูวีดีโอการสอนย้อนหลังผ่าน google classroom  

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ :

5 คน แบ่งเป็นวันธรรมดา 3 คน วันเสาร์อาทิตย์ 2 คน 

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากโครงการ :

สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานการขอสมัครสอบเข้าปริญญาโท ในรอบที่ 4 ปีนี้ หรือปีการศึกษาต่อไปได้ ภายใน 5 ปี โดยเป็นพื้นฐานความรู้ที่จำเป็นในการเรียนปริญญาโทด้านพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย 

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

-

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ :

3, 4

รูปภาพประกอบ:

หัวข้อ

รายละเอียด

หัวข้อในการบรรยาย :

การเปิดโอกาส เปิดใจ และการเตรียมความพร้อมสำหรับสถานศึกษา ในการรับคนพิการเข้าศึกษาและทำงาน

ที่มาและความสำคัญ :

เพื่อให้บุคลากรมีความเข้าใจในเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ และการเพิ่มความเท่าเทียมสำหรับโอกาสทางการศึกษาและการทำงานของผู้พิการ และเพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากรได้ทราบถึงการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและสิ่งอำนวยความสะดวกหากจะรับผู้พิการเข้าศึกษาหรือทำงาน ส่งเสริมยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และการประเมินคุณภาพทางการศึกษา (EdPex)

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม :

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2564

สถานที่จัดงาน :

สถาบันโภชนาการ

หน่วยงานที่ร่วมจัดงาน :

วิทยากรบรรยายจาก วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุประสงค์ :

1) เพื่อให้บุคลากรมีความเข้าใจในเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ และการเพิ่มความเท่าเทียมสำหรับโอกาสทางการศึกษาและการทำงานของผู้พิการ 

2) เพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากรได้ทราบถึงการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและสิ่งอำนวยความสะดวกหากจะรับผู้พิการเข้าศึกษาหรือทำงาน  

รูปแบบการจัดกิจกรรม :

จัดกิจกรรมการบรรยายในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Cisco Webex Meeting 

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมโครงการ :

-

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :

ประมาณ 100 คน

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

https://www.facebook.com/INMUMahidol/photos/4410912539006571

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ :

10

รูปภาพประกอบ:

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ :

หลักสูตรออนไลน์ระยะสั้นสำหรับบุคคลทั่วไป หลักสูตรออนไลน์ "สารก่อมะเร็งในอาหาร" ปี 2

ที่มาและความสำคัญ :

เป็นโครงการเพื่อต่อยอดความรู้ พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับเพิ่มขีดจำกัดในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมในศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน จัดโดยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหิวทยาลัยมหิดล ซึ่งดำเนินการเป็นปีที่ 2 ภายใต้แนวคิดว่า “ไม่จำกัดวุฒิ เรียนเวลาใดก็ได้ และเรียนจบได้ใบประกาศ” ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องสารก่อมะเร็งในอาหารและแนวทางในการป้องกันมะเร็ง โดยเริ่มจากหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง การลดสารก่อมะเร็งในอาหารในระหว่างประกอบอาหาร และการลดสารก่อมะเร็งในอาหารโดยจับคู่กับอาหารต้านสารก่อมะเร็ง

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม :

1 สิงหาคม 2564 - 16 มิถุนายน 2565

สถานที่จัดงาน :

ผ่านระบบออนไลน์ (google classroom)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย :

ผู้จัดโครงการและดำเนินการสอน โดย หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุประสงค์ :

เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับบุคคลทั่วไปไม่จำกัดวุฒิ ให้ได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน

รูปแบบการจัดกิจกรรม :

เรียนผ่าน google classroom ผู้เรียนกำหนดเวลาเรียนเอง สามารถเข้าเรียนตอนไหนก็ได้ ภายใน 1 เดือน มีบทเรียนออนไลน์ จำนวน 10 บทเรียน มีวีดีโอการสอน เอกสารประกอบ และแบบทดสอบท้ายบทเรียนทุกบท เมื่อเรียนจบทำแบบทดสอบคะแนน 70% ขึ้นไป รับใบประกาศจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมโครงการ :

บุคคลทั่วไปที่สนใจ ไม่จำกัดวุฒิผู้เรียน

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :

ประมาณ 100 คน

ผลลัพธ์ที่ได้จากกิจกรรม :

สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันในการหลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็ง และเทคนิคการรับประทานอาหารให้สัมผัสสารก่อมะเร็งน้อยที่สุด เพื่อประโยชน์ในการป้องกันโรคและสุขภาพที่ดี 

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

https://www.facebook.com/inmutox/photos/a.2277756465877728/3123398607980172

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ :

3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

รูปภาพประกอบ:

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ :

หลักสูตรออนไลน์ ระยะสั้น “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ความจำเป็นและความปลอดภัย”

ที่มาและความสำคัญ :

เป็นโครงการเพื่อต่อยอดความรู้ พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับเพิ่มขีดจำกัดในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมในศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน จัดโดยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหิวทยาลัยมหิดล ภายใต้แนวคิดว่า “ไม่จำกัดวุฒิ เรียนเวลาใดก็ได้ และเรียนจบได้ใบประกาศ” ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ความจำเป็นและความปลอยภัย

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม :

เปิดจำนวน 12 รอบ ระหว่าง 16 มิถุนายน 2564 – 16 มิถุนายน 2565

สถานที่จัดงาน :

ผ่านระบบออนไลน์

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย :

จัดโครงการและดำเนินการสอน โดย หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

วัตถุประสงค์ :

-

รูปแบบการจัดกิจกรรม :

เรียนผ่านระบบออนไลน์ ผู้เรียนกำหนดเวลาเรียนเอง สามารถเข้าเรียนตอนไหนก็ได้ ภายใน 1 เดือน มีบทเรียนออนไลน์ จำนวน 10 บทเรียน เมื่อเรียนจบทำแบบทดสอบคะแนน 70% ขึ้นไป รับใบประกาศจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมโครงการ :

บุคคลทั่วไปที่สนใจ ไม่จำกัดวุฒิผู้เรียน

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :

-

ผลลัพธ์ที่ได้จากกิจกรรม :

สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันในด้านโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร สารสกัดจากพืช คอลลาเจน 

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

https://www.youtube.com/watch?v=ViaiTrsGE5Y

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ :

3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

รูปภาพประกอบ:

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ :

โครงการ Mahidol Apprenticeship Program Curriculum (MAP-C) เปิดให้บุคคลทั่วไปได้ศึกษารายวิชาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท เอก) รายวิชา NUND 502 Essential Physiological Biochemistry (MAP-C Program)istry (MAP-C Program)

ที่มาและความสำคัญ :

เพื่อต่อยอดความรู้ พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับเพิ่มขีดจำกัดในการทำงาน และการใช้ชีวิตในสังคมในศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ) เล็งเห็นว่า วิชา NUND 502 เป็นวิชาบังคับที่เปิดให้กับนักศึกษาปริญญาโทในสาขานั้น มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และเป็นที่สนใจของบุคคลภายนอกที่มีคุณวุฒิเหมาะสม จึงได้เปิดให้บุคคลภายนอกมาเรียนร่วมกับนักศึกษาในหลักสูตร

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม :

1 มิถุนายน - 21 กรกฎาคม 2564 

สถานที่จัดงาน :

ผ่านระบบออนไลน์

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย :

ผู้จัดโครงการและดำเนินการสอน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ) สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์ :

เพื่อเปิดให้บุคคลทั่วไปได้ศึกษารายวิชาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท เอก) เพื่อต่อยอดความรู้ พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับเพิ่มขีดจำกัดในการทำงาน และการใช้ชีวิตในสังคมในศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน

รูปแบบการจัดกิจกรรม :

เรียนผ่านระบบออนไลน์

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมโครงการ :

บุคคลทั่วไปที่สนใจเรียนรู้เรื่อง Essential Physiological Biochemistry

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :

-

ผลลัพธ์ที่ได้จากกิจกรรม :

สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานการขอสมัครสอบเข้าปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ) หรือเป็นพื้นฐานความรู้ที่จำเป็นในการเรียนปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ) รวมทั้งได้รับความรู้ในศาสตร์ด้าน Essential Physiological Biochemistry

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

https://graduate.mahidol.ac.th/MAP-2021/MAP-C.php

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ :

-

รูปภาพประกอบ:

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ :

การอบรมออนไลน์ เรื่อง "โภชนาการพื้นฐานเพื่อการป้องกันโรค"ry (MAP-C Program)

ที่มาและความสำคัญ :

ปัจจุบันสถิติคนไทยป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นทุกวัน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันโรคต่างๆ เหล่านั้นได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสมก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นโรคเรื้อรัง จึงนำมาสู่การจัดอบรมออนไลน์​ "โภชนาการพื้นฐานการป้องกันโรค" โดยไม่จำกัดวุฒิ ไม่จำกัดวัย เพื่อการแนะนำเมนูอาหารเพื่อโภชนาการ 5 หมู่ และการป้องกันโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มะเร็ง เป็นต้น

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม :

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม 2564 เวลา 9.00 -16.30 น

สถานที่จัดงาน :

เรียนสด ออนไลน์ผ่านโปรแกรม zoom

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย :

ผู้จัดโครงการและดำเนินการสอน โดย หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุประสงค์ :

เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับบุคคลทั่วไปไม่จำกัดวุฒิ ให้ได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน

รูปแบบการจัดกิจกรรม :

เรียนสด ออนไลน์ผ่านโปรแกรม zoom

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมโครงการ :

บุคคลทั่วไปที่สนใจ ไม่จำกัดวุฒิผู้เรียน

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :

-

ผลลัพธ์ที่ได้จากกิจกรรม :

สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันในการป้องกันโรคต่างๆ ได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสมก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นโรคเรื้อรัง การแนะนำเมนูอาหารเพื่อโภชนาการ 5 หมู่ และการป้องกันโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มะเร็ง เป็นต้น

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

https://www.facebook.com/inmutox/photos/a.2277756465877728/3006858672967500

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ :

-

รูปภาพประกอบ: