หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ชื่องานวิจัย : | โครงการการวิจัยและพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารสําหรับผู้สูงอายุไทยที่มีปัญหาการเคี้ยวและกลืนอาหาร |
คณะ/สาขาวิชา : | สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล (ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม) |
ที่มาและความสำคัญ : | ภาวะการเคี้ยวและกลืนลําบากเป็นปัญหาสําคัญของผู้สูงอายุโดยคิดเป็นร้อยละ 12 ของประชากรทั้งประเทศ โดยบุคลากรทางการแพทย์แนะนําให้ผู้มีอาการดังกล่าวรับประทานอาหารปรับเนื้อสัมผัส อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังขาดกฎหมายหรือหลักเกณฑ์มาตรฐานสําหรับอาหารกลุ่มดังกล่าว |
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา : | งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยหลายรูปแบบทั้งการสํารวจในผู้สูงอายุ 400 คน การประชุมระดมสมองกับที่ปรึกษาจากหน่วยงานต่างๆ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร การทดสอบคุณสมบัติของอาหาร การทดสอบทางประสาทสัมผัส การทดสอบความตรง ความเชื่อมั่นและการนําไปใช้ในคนกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับเกณฑ์ |
วัตถุประสงค์ : | งานวิจัยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารปรับเนื้อสัมผัสที่ผ่านการตรวจสอบความตรง ความเชื่อมั่นและการนําไปใช้ |
แหล่งทุนสนับสนุน : | มหาวิทยาลัยมหิดล |
หน่วยงานที่ร่วมมือ : | สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : | สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา, ผู้ป่วยและประชาชนที่มีปัญหาการเคี้ยวกลืน, ภาคอุตสาหกรรมอาหาร |
ระดับความร่วมมือ : | ระดับประเทศ |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้): | สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งเป็นองค์กรนโยบายระดับประเทศ ได้นำผลงานวิจัยไปใช้เพื่อประกอบการพิจารณาร่างหลักเกณฑ์ อาหารสําหรับผู้สูงอายุไทยที่มีปัญหาการเคี้ยวและกลืนอาหาร โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์สําหรับผู้ผลิตสามารถขออนุญาตนําไประบุประเภทอาหารบนฉลากได้ และสื่อสารกับผู้บริโภคให้สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ได้เหมาะสมกับความต้องการจําเพาะของตนเอง อย่างปลอดภัย |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน: | https://inmu2.mahidol.ac.th/th/wp-content/uploads/2020/06/9846.pdf |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : | 2, 17 |
รูปภาพประกอบ:
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ชื่องานวิจัย : | To develop of nutrient profile models for implementing population-based actions to promote healthy diets |
คณะ/สาขาวิชา : | สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต และ รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ) |
ที่มาและความสำคัญ : | Nutrient profiling เป็นวิธีการประเมินปริมาณของสารอาหารในอาหารบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาใช้ในการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ โดยในปี 2016 มีการพัฒนา nutrient profile model สำหรับเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขององค์การอนามัยโลก เพื่อนำมาใช้ในการให้คำแนะนำด้านการตลาดของอาหารและเครื่องดื่มแก่เด็ก ในปี 2020 ประเทศสมาชิกต้องการผลักดันให้มีการนำ nutrient profile model มาใช้เป็นระเบียบข้อบังคับในด้านอื่นเพิ่มเติม เช่น ฉลากโภชนาการของผลิตภัณฑ์ การจัดอาหารในโรงเรียน ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการทบทวนเอกสาร nutrient profile model เพื่อให้มีความครอบคลุมในการนำมาใช้ในการส่งเสริมอาหารเพื่อสุขภาพ |
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา : | งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยหลายรูปแบบทั้งการสํารวจในผู้สูงอายุ 400 คน การประชุมระดมสมองกับที่ปรึกษาจากหน่วยงานต่างๆ การพัฒนาเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
วัตถุประสงค์ : | ทำการทบทวนข้อมูล nutrient profile ให้มีความครอบคลุมอาหารแต่ละประเภท และเป็นข้อมูลที่ทันสมัย |
แหล่งทุนสนับสนุน : | World Health Organization |
หน่วยงานที่ร่วมมือ : | - |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : | ผู้ผลิต ผู้บริโภค |
ระดับความร่วมมือ : | ระดับนานาชาติ |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้): | จัดทำเป็นหนังสือเพื่อนำมาใช้ในการกำหนดระเบียบข้อบังคับในผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็ก สำหรับเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน: | https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/253459/9789290225447-eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : | 2, 12 |
รูปภาพประกอบ: | - |
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ชื่องานวิจัย : | การพัฒนาสูตรอาหาร modular โดยใช้วัตถุดิบที่มีภายในประเทศสำหรับเด็กกลุ่มโรค BRANCHED-CHAIN ORGANIC ACIDURIAS |
คณะ/สาขาวิชา : | สถาบันโภชนาการ |
ที่มาและความสำคัญ : | การรักษาในระยะยาวสำหรับโรคเหตุบกพร่องทางเมตาบอลิซึมของกรดอินทรีย์ซึ่งประกอบด้วยโรค maple syrup urine disease (MSUD), isovaleric acidemia (IVA), propionic acidemia (PA), และmethylmalonic acidemia (MMA) นั้นจำเป็นต้องควบคุมอาหารให้มีปริมาณพลังงานและโปรตีนที่เพียงพอ ร่วมกับการจำกัดปริมาณกรดอะมิโนที่ก่อให้เกิดสารพิษในแต่ละโรคโดยการใช้อาหารทางการแพทย์ที่ไม่มีกรดอะมิโนดังกล่าวเป็นมาตรฐานในการรักษาซึ่งอาหารทางการแพทย์เหล่านี้มีราคาสูงมาก ผู้ป่วยที่อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาและมีปัญหาด้านเศรษฐานะจะไม่สามารถหาซื้อมาใช้เองได้ จากปัญหาดังกล่าวนำไปสู่แนวคิดที่จะหาผลิตภัณฑ์อาหารอื่นที่สามารถนำมาใช้เป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วยในกลุ่มนี้ |
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา : | โรงพยาบาลรามาธิบดี |
วัตถุประสงค์ : | การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารโมดูลาร์เพื่อนำมาใช้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคเหตุบกพร่องทางเมตาบอลิซึมของกรดอินทรีย์ที่มีอายุระหว่าง 4-15 ปี โดยใช้วัตถุดิบที่มีภายในประเทศไทย กระเพาะปลา (Pangasius hypophthalmus) และเมล็ดทานตะวันคั่ว (Helianthus annuus) ถูกเลือกมาใช้เป็นแหล่งอาหารโปรตีน |
แหล่งทุนสนับสนุน : | - |
หน่วยงานที่ร่วมมือ : | โรงพยาบาลรามาธิบดี |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : | ผู้ป่วยกลุ่มโรคเหตุบกพร่องทางเมตาบอลิซึมของกรดอินทรีย์ |
ระดับความร่วมมือ : | - |
ผลลัพท์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้): | ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคเหตุบกพร่องทางเมตาบอลิซึมของกรดอินทรีย์ในระยะยาวด้วยการใช้วัตถุดิบที่มีภายในประเทศจึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาเพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองมากขึ้น |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน: | - |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : | - |
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ชื่องานวิจัย : | กิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้จากการวิจัยสู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาความมั่นคงทางอาหารและสุขภาวะบนฐานวัฒนธรรมชุมชน “สุขภาพดี วิถีพอเพียง” ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม |
ที่มาและความสำคัญ : | กิจกรรมร่วมมือระหว่างสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมหาสวัสดิ์ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลมหาสวัสดิ์ องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 เพื่อร่วมฟื้นฟูและพัฒนาความมั่นคงทางอาหารและสุขภาวะหลังภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งใหญ่ทำให้พื้นที่เกษตรและพื้นที่สวนครัวรอบบ้านแหล่งอาหารของคนในชุมชนได้รับความเสียหาย สถาบันโภชนาการ ร่วมกับชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมหาสวัสดิ์ จึงริเริ่มแนวคิดฟื้นฟูและสร้างแหล่งอาหารรอบบ้านด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน โดยชวนให้คนในชุมชนรวบรวมเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้าพืชผัก ผลไม้ รวมถึงสมุนไพร แบ่งปันคนในชุมชนตำบลมหาสวัสดิ์และพื้นที่ใกล้เคียงให้นำไปปลูกเพื่อเป็นแหล่งอาหารและยาที่หลากหลายและปลอดภัยใกล้บ้าน โดยใช้วิถีการทอดผ้าป่าเพื่อให้เกิดการรวบรวมเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้าทั้งภายในชุมชน รวมถึงจากหน่วยงานราชการและภาคีเครือข่ายนอกพื้นที่ แนวคิดและแนวทางการทำงานประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยและพัฒนาของหน่วยส่งเสริมโภชนาการและสุขภาวะตั้งแต่ พ.ศ. 2548 - 2559 ในการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารและสุขภาวะบนฐานวัฒนธรรมชุมชน จากกรณีศึกษาชุมชนกะเหรี่ยงบ้านสะเนพ่อง ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และ ชุมชนตำบลเหมืองใหม่ ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม |
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ : | พ.ศ. 2554 – 2563 |
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ : | ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม |
วัตถุประสงค์ : | 1. เพื่อร่วมฟื้นฟูและพัฒนาความมั่นคงทางอาหารและสุขภาวะ 2. เพื่ออนุรักษ์พันธุ์พืชอาหารท้องถิ่น และสร้างวัฒนธรรมการสืบทอดและส่งต่อความมั่นคงทางอาหาร จากรุ่นสู่รุ่น” |
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ : | ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : | สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมหาสวัสดิ์ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลมหาสวัสดิ์ องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และหน่วยงานภาคีเครือข่าย |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : | ผู้ป่วยกลุ่มโรคเหตุบกพร่องทางเมตาบอลิซึมของกรดอินทรีย์ |
ระดับความร่วมมือ : | ประชาชนในพื้นที่ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม |
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ : | 200 คน |
ผลลัพท์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้) : | 1) ชนิดและจำนวนพันธุ์พืชผัก ผลไม้ ที่กลายเป็นแหล่งอาหารหลากหลาย มีคุณค่าโภชนาการและปลอดภัย ในชุมชน 2) วิถีการแบ่งปันเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้า และผลผลิตในชุมชน ทำให้ประชาชนมีอาหารหลากหลาย ปลอดภัย 3) ความรู้คุณค่าทางโภชนาการ (มิติวิทยาศาสตร์) ถูกเผยแพร่ให้คนในชุมชนและเพิ่มการรับรู้และความตระหนักของการปลูกและประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกาย และสุขภาวะทางสังคมที่เกิดจากการแบ่งปันและสนับสนุนระหว่างประชาชนในชุมชน รวมถึงนอกชุมชน |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน: | - |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : | 2 |
รูปภาพประกอบ:
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ชื่องานวิจัย : | โครงการพัฒนารูปแบบการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มวัยเด็กตอนปลาย |
คณะ/สาขาวิชา : | สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล |
หัวหน้าโครงการ : | ดร.ปัทมาภรณ์ จุมปา |
ทีมวิจัย : | บุคลากรหน่วยส่งเสริมโภชนาการและสุขภาวะ |
ที่มาและความสำคัญ : | ภาวะทุพโภชนาการ (over nutrition) ของประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น และอำเภอพุทธมณฑล ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2560 พบปัญหาภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน สูงสุดในจังหวัดนครปฐม (ร้อยละ 17.6) เกินจากเป้าหมายของประเทศ |
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา : | อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม |
วัตถุประสงค์ : | การสร้างความรู้ความเข้าใจให้เด็กนักเรียนโดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีหลักคิดมาจากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนเรียนรู้ และเข้าใจพิษภัยจากการบริโภคอาหารรสหวาน มัน เค็มจัดในปริมาณมากและเป็นระยะเวลานานโดยใช้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นสร้างความเชื่อมโยงระหว่างข้อสรุปและหลักฐานที่สนับสนุนข้อสรุปนั้นอย่างเป็นเหตุเป็นผล เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้จนทำให้เกิดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม |
แหล่งทุนสนับสนุน : | - |
หน่วยงานที่ร่วมมือ : | โรงพยาบาลรามาธิบดี |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : | นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 และโรงเรียนในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม |
ระดับความร่วมมือ : | - |
ผลลัพท์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้) : | นักเรียนกลุ่มทดลองมีระดับความรู้หลังดำเนินโครงการ รวมทั้งแรงจูงใจภายในสูงขึ้นหลังเสร็จสิ้นโครงการ นอกจากนี้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานตามขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับแรงจูงใจภายใน แรงจูงใจภายนอก และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน: | - |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : | - |
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ชื่อโครงการ : | ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล (สถาบันโภชนาการ) กับ บริษัท สยาม แม็คโคร จำกัด (มหาชน) |
SDG goal ข้อ : | เป้าหมายที่ 3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (GOOD HEALTH AND WELL-BEING) |
ที่มาและความสำคัญ : | ข้อมูลโภชนาการผ่านระบบ Makro i-trace โดย QR code ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท สยามแม็คโคร จํากัด (มหาชน) ยังขาดข้อมูลทางโภชนาการ เนื่องจากสถาบันโภชนาการมีการดำเนินงานและจัดทำฐานข้อมูลทางโภชนาการในผ่านเว็ปไซด์ของสถาบันฯ จึงร่วมมือกันในการนำข้อมูลของสารอาหารต่างๆ เพื่อจัดทำเป็นข้อมูลอยู่ในระบบ Makro i-trace เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้สะดวก นอกจากนั้นเนื่องจากบริษัท สยามแม็คโคร จํากัด (มหาชน) มีการจัดทำเป็นตำรับอาหาร เพื่อใช้เป็นแนวทางให้กับผู้ซื้อสินค้านำไปเป็นแนวทางในการดำเนินกิจการ แต่เนื่องจากตำรับอาหารนี้ยังมีสารอาหารที่ไม่เหมาะสมต่อสุขภาพ เช่น ไขมัน โซเดียมและน้ำตาลที่มากเกินไป ในขณะที่สถาบันโภชนาการมีความชำนาญในเรื่องของการประเมินสารอาหารเหล่านี้ จึงมีความร่วมมือในการจัดทำตำรับอาหารที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป |
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ : | 14 พฤศจิกายน 2562 - 14 พฤศจิกายน 2565 |
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ : | สถาบันโภชนาการ, บริษัท สยามแม็คโคร จํากัด (มหาชน) |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : | บริษัท สยามแม็คโคร จํากัด (มหาชน) |
วัตถุประสงค์ : | เพื่อสนับสนุนและยกระดับการพัฒนาวิชาการด้านอาหารและโภชนาการ การนําผลงานทางวิชาการไปใช้ประโยชน์ ในการสร้างองค์ความรู้ การสร้างเครือข่าย และนวัตกรรมต่างๆ |
รูปแบบการดำเนินโครงการ : | 1. การศึกษาและพัฒนากิจกรรมวิชาการและการวิจัยด้านอาหารเพื่อโภชนาการ จากการมีส่วนร่วมของพหุภาคีที่สําคัญ ได้แก่ นักวิชาการ ภาคธุรกิจ และชุมชนท้องถิ่น 2. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในด้านอาหารและโภชนาการ เช่น ร่วมพัฒนาฐานข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการ พัฒนานวัตกรรมอาหารผ่านโครงการวิจัย สนับสนุนการจัดทําฐานข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร และการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เป็นต้น 3. การจัดกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ของบริษัทหรือมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ข้อมูลและผลงานทางด้านอาหารและโภชนาการ 4. การแลกเปลี่ยนวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ และบุคลากรในการพัฒนาทางวิชาการและการฝึกอบรม 5. การส่งเสริมการสร้างจิตสํานึก รณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและผลการดําเนินกิจกรรม 6. การรายงานความก้าวหน้าความร่วมมือทุก 12 เดือน เพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะในการดําเนินการต่อไป |
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมโครงการ : | ผู้ประกอบการที่ซื้อสินค้าจากบริษัทฯ ผู้ใช้ฐานข้อมูลคุณค่าโภชนาการแบบออนไลน์ของสถาบันโภชนาการ และผู้บริโภคทั่วไป |
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ : | ผู้ใช้ฐานข้อมูลแบบออนไลน์ของสถาบันโภชนาการ และบนแอพลิเคชั่นของสยามแม็คโคร จํากัด (มหาชน) 1,000 คน |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากโครงการ : | การศึกษาและพัฒนากิจกรรมวิชาการและการวิจัยด้านอาหารเพื่อโภชนาการจากการมีส่วนร่วมของพหุภาคีที่สําคัญ ได้แก่ นักวิชาการ ภาคธุรกิจ และชุมชนท้องถิ่น และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในด้านอาหารและโภชนาการ เช่น ร่วมพัฒนาฐานข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการ พัฒนานวัตกรรมอาหารผ่านโครงการวิจัย สนับสนุนการจัดทําฐานข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร และการพัฒนาห้องปฏิบัติการ เป็นต้น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ข้อมูลและผลงานทางด้านอาหารและโภชนาการ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ และบุคลากรในการพัฒนาทางวิชาการและการฝึกอบรม |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน: | - |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : | - |
รูปภาพประกอบ: