หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ชื่อโครงการ : | ร้านจำหน่ายอาหารเพื่อสวัสดิการ |
ที่มาและความสำคัญ : | เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษา ได้เข้าถึงอาหารที่สะอาด ปลอดภัยตามหลักสุขาภิบาลอาหาร มีคุณค่าทางโภชนาการ ในราคาที่ไม่แพง สถาบันจึงจัดให้มีร้านจำหน่ายอาหารเพื่อสวัสดิการขึ้นในพื้นที่ของสถาบันโภชนาการ |
ช่วงเวลาที่จัดโครงการ : | 7.30 - 14.30 น. |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : | สถาบันโภชนาการ/ผู้เช่าพื้นที่สถาบันในการจำหน่ายอาหาร และจำหน่ายเครื่องดื่ม |
วัตถุประสงค์ : | เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษา เข้าถึงอาหารที่สะอาด ปลอดภัยตามหลักสุขาภิบาล มีคุณค่าทางโภชนาการ ในราคาที่ไม่แพง |
รูปแบบการดำเนินโครงการ : | ให้ภาคเอกชนมาเช่าพื้นที่ร้านค้า เพื่อดำเนินการจำหน่ายอาหาร มีการทำสัญญาภายใต้ระเบียบข้อบังคับของคณะกรรมการสวัสดิการสถาบัน โดยมีการประเมินคุณภาพ ราคา สุขาภิบาล ความพึงพอใจของผู้รับบริการ |
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมโครงการ : | บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล และผู้มาติดต่อ |
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ : | 200 คน |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากโครงการ : | บุคลากรและนักศึกษา ได้รับอาหารที่สะอาด ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ ทำให้มีสุขภาพพลานามัยดี |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน: | - |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : |
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ชื่องานวิจัย : | การเผยแพร่ความรู้การวิจัยด้านโภชนาการ สารออกฤทธิ์ชีวภาพ และสมบัติเชิงสุขภาพ ของเห็ดกินได้ในจังหวัดอำนาจเจริญ ผ่านทางการ์ดเกมส์การศึกษา |
คณะ/สาขาวิชา : | สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ที่มาและความสำคัญ : | จากการสำรวจพันธ์เห็ดในพื้นที่ป่าชุมชนดงใหญ่ จังหวัดอำนาจเจริญ พบว่าสภาพป่ามีความอุดมสมบรูณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ด และปริมาณเห็ดที่เก็บได้ในแต่ลปีมีปริมาณมาก ซึ่งพื้นที่ป่าแห่งนี้เป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชนดงใหญ่ และชุมชนใกล้เคียง แต่เนื่องจากคนในชุมชนชาดการควบคุม และความรู้ จึงมีผลต่อการสูญเสียของเชื้อพันธ์เห็ด และการทำลายสภาพป่า ดังนั้น การให้ความรู้แก่ประชาชน นาจะช่วยให้ประชาชนเกิดความเข้าใจและนำไปสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ |
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา : | จังหวัดอำนาจเจริญ |
วัตถุประสงค์ : | เพื่อร่วมสนองพระราชดำริ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำรี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ในด้านการนำไปใช้ประโยชน์ จัดทำการ์ดเกมส์ (MUsho) ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการ สารออกฤทธิ์ชีวภาพ และสมบัติเชิงสุขภาพ ของเห็ดกินได้ในจังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดเห็ด สร้างความตระหนักรู้ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างถูกต้องเหมาะสม ควบคู่การอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน |
แหล่งทุนสนับสนุน : | สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) |
หน่วยงานที่ร่วมมือ : | - |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : | - |
ระดับความร่วมมือ : | - |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้): | มีการจัดฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ของ ชุมชน เรื่อง เห็ด แก่เยาวชนในโรงเรียนมัธยในจังหวัดอำนาจเจริญ |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน: | |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : |
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ชื่องานวิจัย : | โครงการศึกษารูปแบบการจัดการอาหารเด็กวัยเรียนระดับประถมศึกษาที่ส่งผลต่อ การบริโภคอาหารที่มีไขมันอย่างเหมาะสม (กรณีศึกษาจังหวัดนครปฐม) |
ที่มาและความสำคัญ : | เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่มักจะมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ทั้งปัญหาการขาดสารอาหารและปัญหาโภชนาการเกิน สาเหตุสำคัญของปัญหา คือการบริโภคอาหารที่มีพลังงานสูง โดยเฉพาะการบริโภคอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน โรงเรียนจัดอาหารกลางวันและอาหารว่างเป็นอาหารและเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูงอุดมไปด้วยไขมันและน้ำตาล ในขณะที่รอบโรงเรียนมักพบร้านขายอาหารประเภทที่มีไขมันและน้ำตาลสูงในเขตเมืองทั่วประเทศ ภาครัฐโดยกระทรวงสาธารณสุขได้มีแนวทาง และมาตรการการจัดบริการอาหาร และการควบคุมอาหารที่มีรสหวาน มันและเค็มสูง ร่วมกับกิจกรรมทางกาย ในโรงเรียนทั่วประเทศ จำนวน 354 โรงเรียน พบว่า โรงเรียนเกือบทั้งหมดมีการจำหน่ายอาหารในโรงเรียน โดยอาหารที่จำหน่ายแพร่หลายมากที่สุดเป็นอาหารรส หวาน มัน เค็ม ได้แก่น้ำหวาน อาหารทอด และขนมกรุบกรอบ สะท้อนถึงการจัดหรือจำหน่ายอาหารที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วนยังคงอยู่การกำหนดนโยบาย ระเบียบ มาตรการ ข้อตกลงร่วมกันของโรงเรียน การให้ความรู้ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ประกอบการ แม่ครัว ผู้ปกครอง และชุมชน รวมถึงศักยภาพและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน เนื่องจาก ปัญหาโรคอ้วนที่เกี่ยวข้องหลายมิติทั้งมิติสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ดังนั้น การนำนโยบายสู่การปฏิบัติในโรงเรียนประถมศึกษาที่มีบริบทแตกต่างกันจึงน่าจะมีนโยบาย มาตรการและการปฏิบัติติที่แตกต่างกัน โรงเรียนที่ผ่านการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร เด็กนักเรียนยังคงมีปัญหาน้ำหนักเกินมาตรฐานและมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน มัน เค็ม ทั้งที่มีตัวชี้วัดหรือมาตรการควบคุมคุณภาพของอาหารกลางวัน การจัดหรือจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน มัน เค็มให้แก่นักเรียนแสดงถึงการดำเนินงานที่อาจไม่ต่อเนื่อง นักเรียนไม่มีความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ รวมไปถึงปัจจัยส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาที่อาจไม่เพียงพอ ดังนั้นการดำเนินงานของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร จึงมีทั้งนโยบาย แนวทางและการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาที่เป็นโอกาส ขณะเดียวกัน อาจมีข้อจำกัดหรือความท้าทายบางประการที่ทำให้ปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนยังคงเป็นโรคระบาดในประเทศไทย ดังนั้น เพื่อให้ทราบรูปแบบการจัดการอาหารที่มีไขมันสูงที่มีการดำเนินงานทั้งในโรงเรียน รอบรั้วโรงเรียน ครอบครัวและชุมชน การศึกษาครั้งนี้ จึงทำการศึกษาทั้งสถานการณ์การบริโภคอาหาร ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงของเด็กวัยเรียนระดับประถมศึกษา และรูปแบบการจัดการอาหารที่มีไขมันสูงในกรณีศึกษาจังหวัดนครปฐม |
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา : | 1 พฤษภาคม 2564 - 30 มิถุนายน 2565 |
วัตถุประสงค์ : | 1. ศึกษาสถานการณ์การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงของเด็กวัยเรียนระดับประถมศึกษา 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงของเด็กวัยเรียนระดับประถมศึกษา 3. ศึกษารูปแบบการจัดการอาหารที่มีไขมันสูงของเด็กในโรงเรียน รอบรั้วโรงเรียน ครอบครัวและชุมชน |
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ : | 1 พฤษภาคม 2564 - 30 มิถุนายน 2565 |
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ : | โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับประถมศึกษาเป้าหมายในจังหวัดนครปฐม จำนวน 9 แห่ง |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : | ศูนย์อนามัย ที่ 5 ราชบุรี, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม, เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จ.นครปฐม |
แหล่งทุน : | สสส. |
รูปแบบการดำเนินโครงการ : | การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ |
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมโครงการ : | 1) ผู้บริหารโรงเรียนระดับประถมศึกษา 2) ครูที่เกี่ยวข้องกับการจัดอาหาร สุขภาพอนามัย 3) แม่ครัว แม่ค้าในโรงเรียน/นอกโรงเรียน 4) คณะกรรมการสถานศึกษา/ คณะกรรมการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 5) ผู้ปกครองนักเรียน, นักเรียนระดับประถมศึกษาอำนาจเจริญ |
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ : | 1,006 คน |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : | 1) นักเรียนในวัยเรียนระดับประถมศึกษา 2) โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพใน จ.นครปฐม 3) เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จ.นครปฐม |
ระดับความร่วมมือ : | - |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากโครงการ : | รูปแบบการจัดการอาหารที่มีไขมันสูงของเด็กในโรงเรียน รอบรั้วโรงเรียน ครอบครัวและชุมชน |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน: | - |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : | เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย |